วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Postmodern Graphic Design III

ถ้าพูดถึงรูปแบบงานของ Modern มักจะเป็นงานที่มีแนวคิดแบบ
"Form Follow Function"

ส่วนงานแบบ Postmodern คืองานแบบ "Form Follow Content"(or context?)

ความเป็น Postmodern คือการแสวงหาสิ่งใหม่ในงานออกแบบ
เพราะความซ้ำซากของรูปแบบงานที่มีให้เห็นบ่อยมากในยุคของ Paul Rand,
Pentagram ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่า Postmodernist มีรูปแบบคล้ายกับ
Deconstructionist คือการนำเอาระบบความคิดเดิมๆมาฉีกออก
เพื่อทำความเข้าใจปัจจัยต่างๆที่ใช้ในการสร้างงาน โดยมองจากหลายอย่าง
รอบๆที่ส่งผลสัมพันธ์กัน มากกว่าจะมองแต่ภาพลวง(หรือเปลือก)

ซึ่ีงตรงจุดนี้จะสามารถนำเอามาอธิบายคำว่า "Context"(บริบท)
ที่ใช้มากในยุค Postmodern แทนคำว่า"Content"
ซึ่งมาจากการการเปลี่ยนแปลงวิธีความคิดไปเป็นมองที่แนวคิดของงาน
รวมไปถึงศัพท์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาในยุค Postmodern ที่ค่อนข้างจะแสดง
ลักษณะความเป็น Postmodern ได้ดียิ่งขึ้น

-Pastiche คือการจับเอาลักษณะของสไตล์ต่างๆมาปะติดปะต่อกัน

-Kitsch น่าจะหมายถึงงานออกแบบที่ต้องการผลิตงานให้ดีแต่ไม่สำเร็จ และดูเกินงาม
(Over Design)

-Subvert คือการนำเอาสิ่งที่มีหน้าที่อย่างหนึ่งไปใช้ทำหน้าที่ของสิ่งอื่นแทน
เป็นการเปลี่ยนคอนเซ็ป เพื่อให้ได้สิ่งใหม่

-Site ในยุคนี้ คำนี้จะถูกใช้เรียกจุดหนึ่งในความคิดของงาน ที่แสดงออกถึงคอนเซ็ป

-Simulacrum คือการลอกเลียนอย่างไม่มีรสนิยม ทำให้เกิดงานที่ดูไม่เข้ากัน

-Camp คืองานที่จงใจให้งานดูไม่มีรสนิยม อาจทำเพื่อประชดหรืออะไรซักอย่าง
รวมไปถึงงานเลียนแบบที่จงใจทำให้ดูไม่ดี เป็นต้น

-Vernacular ในความหมายเชิงออกแบบหมายถึง การออกแบบสิ่งเดียวกัน
ในสถานที่ต่างกัน แต่สามารถปรับให้เข้ากัยสถานที่นั้นๆได้ ตามปัจจัยต่างๆ
ที่พบได้ในที่นั้นๆ เช่นร้าน เคเอฟซี ที่มีในหลายๆที่ ซึ่งแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน
แต่เราก็บอกได้ว่านี่คือร้าน เคเอฟซี

ซึ่งจากศัพท์เหล่านี้เรียกได้ว่า งานออกแบบในยุค Postmodern นั้น
มีรูปแบบที่หลากหลาย ยากที่จะแยกแยะงานในยุคนี้ด้วย Element ในงาน
ดังนั้น การแยกแยะงานออกแบบของ Postmodern น่าจะเป็นการดูที่ความคิด
หรือคอนเซ็ป (น่าจะเกี่ยวกับการที่เราทำ mind map)

โดยรวมแล้วความเป็น Postmodern Graphic Design ค่อนข้างจะเป็นคำที่
เข้าใจได้ยาก แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะตีความหมายอย่างไร บางคนอาจบอกว่า
เป็นการทำลายรูปแบบเดิม บางคนอาจบอกว่านี่ คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานความเข้าใจและประสบการณ์เฉพาะตัว






อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design
-No more rule Graphic Design and Postmodernism, Rick Poynor
-A History of Graphic Design , Philip B. Meggs
-Postmodern ดีกว่าแบรนด์ ซับซ้อนกว่าโฆษณา ,ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร