จากบทความในเรื่องของ Postmodern ที่เขียนมาทั้งหมด
ยังมีอีกหนึ่งคำถามที่ชวนให้สงสัย คือ
ในปัจจุบันนี้ยังเรียกได้ว่าเป็นยุคของ Postmodern Graphic รึเปล่า?
ซึ่งหลังจากที่ได้วิเคราะห์กันในกลุ่มเพื่อน ก็ได้ข้อสันนิษฐานว่า
ในปัจจุบันนี้น่าจะเรียกได้ว่าไม่ใช้ยุคโพสโมเดิรนแล้ว
ซึ่งจริงๆคำว่า Postmodern Graphic Design ไม่ใช่คำที่พูดถึงยุคสมัย
แต่น่าจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
โลกของนักออกแบบ เชกเช่นกับที่เราใช้เรียกรูปแบบของ bauhaus
หรือแม้แต่ Swiss Style ไม่ใช่คำเรียกของยุคสมัย
ถ้าดูกันจริงๆแล้ว ตั้งแต่ยุค Postmodern จนถึงปัจจุบัน
ก็ยังไม่ได้มีรูปแบบอะไรใหม่ๆที่ชัดเจน
แต่ส่วนใหญ่งานในปัจจุบันมักจะมีรูปแบบที่หลากหลาย
และไม่ได้มีรูปแบบที่ยึดติดกับสถานที่เท่าแต่ก่อน คือ
ไม่จำเป็นว่าคนสวิส จะต้องทำแต่งานแบบสวิส
นักออกแบบในปัจจุบันมีอิสระ (ที่อยู่ในข้อจำกัด) ที่จะเลือกรูปแบบ
ให้เข้ากับชิ้นงานแต่ละชิ้น เพื่อที่จะแสดงเอกลักษณ์ที่มีอยู่ในรูปแบบ
ต่างๆ สื่อออกมาแทนเนื้อความของงาน
เป็นเพราะในปัจจุบันความฉับไวของข้อมูลและข่าวสารที่ง่ายขึ้น
ทำให้นักออกแบบมีโอกาสที่จะศึกษารูปแบบที่หลากหลาย
พร้อมกับมีอิสระ และสิทธิ ที่จะนำเอารูปแบบต่างๆมาใช้
โดยแทบจะไม่มีข้อจำกัด
ซึ่งจากที่พูดมาก็น่าจะเรียกได้ว่าในปัจจุบันนี้ได้ผ่านพ้น
จากความเป็น Postmodern ไปแล้วและเข้าสู่ยุคสมัยที่เปิดกว้าง
และมีการผสมผสานรูปแบบที่หลากหลาย ตามแต่ว่างานแต่ละชิ้น
ควรจะมีลักษณะอย่างไร
อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design
-No more rule in Graphic Design and Postmodernism
-A History of Graphic Design , Philip B. Meggs
-Postmodern ดีกว่าแบรนด์ ซับซ้อนกว่าโฆษณา ,ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
Postmodern Graphic Design II
หลังจากได้หาข้อมูลของ กราฟิกในยุค Postmodern มาเพิ่มเติม
ก็เห็นว่า ข้อมูลของคราวที่แล้วยังมีบางส่วนไม่ชัดเจน
จึงขอโอกาสเรียบเรียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ข้อความเหล่านี้มีความคิดเห็นส่วนตัวอยู่ด้วย โปรดใช้วิจารณญาณ
_________________________________________
Postmodern Graphic Design นับได้ว่าเป็นยุคที่ให้ความสำคัญ
กับเรื่อง เสรีภาพ และความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล
ดีไซเนอร์จึงมีอิสระที่จะนำเอาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ หรือภาษาที่ใช้
มาผสมให้เกิดเป็นงานใหม่ๆ และเริ่มกลายเป็นการออกแบบเชิงทดลอง
ซึ่งจะมีความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนกับงานออกแบบในยุค Modern
ที่มักจะเป็นการออกแบบตามหลักทฤษฎี และเหตุผล
จนมีหลายแห่งให้คำจำกัดความยุค Postmodern ว่าเป็นยุคที่ต่อต้าน
และปฏิเสธยุค Modern อย่างมาก
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับยุค Modern กันก่อน
งานออกแบบในยุค Modern มักจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน
ซึ่งอิงกับทฤษฎี และกฎเกณฑ์ อย่างเช่นรูปแบบ International Style
หรือ Swiss Style ที่มีรูปแบบเรียบง่าย ผสมผสานระหว่าง
Typography และ Geometric Form ดูสะอาดตา
ตัวอย่างนักออกแบบในยุคนี้ เช่น josep muller brockman
ในยุค Modern ที่เพิ่งเริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
งานออกแบบจึงค่อนข้างถูกอิทธิพลของการคิดแบบเหตุ และ ผล
มาเกี่ยวข้อง งานในยุคนี้จึงค่อนข้างยึดกฎเกณฑ์และทฤษฎี
ตามสภาวะของสังคม
แต่เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เริ่มมีการออกแบบเชิงพานิชมากขึ้น
พร้อมกับสภาพสังคมที่เริ่มมีความแตกต่างของรสนิยมมากยิ่งขึ้น
นักออกแบบในยุคนี้จึงต้องปรับตัวและออกแบบเพื่อตอบรับความต้องการ
ที่หลากหลาย เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าต้องการออกแบบโปสเตอร์ เพลงร็อค
การใช้รูปแบบ เรียบง่ายแบบ Modern คงไม่ดีแน่
ในยุคสมัยนี้ผู้คนอาจจะมองว่า โมเดิร์นลิซึ่มเป็นสิ่งที่สวยงามในเชิงบวก
แต่โพสต์โมเดรินเป็นในทางเชิงลบ เพราะยุคนี้เป็นยุคของการที่แหกกฏเกณฑ์
ในการออกแบบ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มี grid
โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัว
การทำแบบนี้น่าจะเกิดจากการแข่งขันในเชิงพานิชซึ่งต้องใช้รูปแบบแปลกตา
จะช่วยสร้างความประทับใจแก่ผู้ดูได้อีกระดับหนึ่ง
แต่ผมคิดว่างานในยุค Postmodern ถ้าไม่ดูแย่ ก็จะดูดีไปเลย
แต่ใช่่ว่างานในยุค Postmodern จะแหกกฎไปซะหมด
ซึ่งจริงๆและ้วก็ยังมีนักออกแบบรุ่นเก่าที่ยังยึดรูปแบบเดิมอยู่
ซึ่งนักออกแบบในสวิส และอังกฤษ จะไม่ค่อยสน Postmodern
ซักเท่าไหร่ งานที่เป็น Postmodern ส่วนมากจะอยู่ที่อเมริกา
ซึ่งให้ความสำคัญมากกว่า ศิลปินที่เด่นชัดก็เช่น David Carson
อีกสาเหตุหนึ่งที่เอื้อหนุนให้นักออกแบบสามารถออกแบบเชิงทดลอง
ได้มากขึ้น คือเรื่องของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
การมีคอมพิวเตอร และระบบการพิมพ์์ใหม่ๆ
ก็ช่วยให้นักออกแบบสามารถทำอะไรได้มากขึ้น
งานออกแบบในปลายศตวรรษที่ 20 ค่อนข้างที่จะลดความระห่ำลง
เริ่มมีการผสมผสานรูปแบบทั้งเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
คือ มีการใช้เหตุผลร่วมกับรูปแบบการปะติดปะต่อ จนได้งานที่ลงตัวยิ่งขึ้น
ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่นักออกแบบได้ทดลองอะไรหลายๆอย่าง
จนรูปแบบใหม่ๆค่อนข้างจะลงตัว (และไม่ค่อยมีรูปแบบงานที่ใหม่กว่าเกิดขึ้น)
จึงทำให้งานออกแบบที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ค่อนข้างจะมีวิธีแก้ปัญหามากพอในการออกแบบ
เรียกได้ว่างานกราฟิกในยุค Postmodern ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญ
ในวงการออกแบบในปัจจุบัน
วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ ไว้จะมาลงเพิ่มเติมต่อ
อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design
-No more rule in Postmodern Graphic Design
-A History of Graphic Design , Philip B. Meggs
เรียบเรียง โดย พงศธร ตั้งสะสม
ก็เห็นว่า ข้อมูลของคราวที่แล้วยังมีบางส่วนไม่ชัดเจน
จึงขอโอกาสเรียบเรียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ข้อความเหล่านี้มีความคิดเห็นส่วนตัวอยู่ด้วย โปรดใช้วิจารณญาณ
_________________________________________
Postmodern Graphic Design นับได้ว่าเป็นยุคที่ให้ความสำคัญ
กับเรื่อง เสรีภาพ และความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล
ดีไซเนอร์จึงมีอิสระที่จะนำเอาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ หรือภาษาที่ใช้
มาผสมให้เกิดเป็นงานใหม่ๆ และเริ่มกลายเป็นการออกแบบเชิงทดลอง
ซึ่งจะมีความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนกับงานออกแบบในยุค Modern
ที่มักจะเป็นการออกแบบตามหลักทฤษฎี และเหตุผล
จนมีหลายแห่งให้คำจำกัดความยุค Postmodern ว่าเป็นยุคที่ต่อต้าน
และปฏิเสธยุค Modern อย่างมาก
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับยุค Modern กันก่อน
งานออกแบบในยุค Modern มักจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน
ซึ่งอิงกับทฤษฎี และกฎเกณฑ์ อย่างเช่นรูปแบบ International Style
หรือ Swiss Style ที่มีรูปแบบเรียบง่าย ผสมผสานระหว่าง
Typography และ Geometric Form ดูสะอาดตา
ตัวอย่างนักออกแบบในยุคนี้ เช่น josep muller brockman
ในยุค Modern ที่เพิ่งเริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
งานออกแบบจึงค่อนข้างถูกอิทธิพลของการคิดแบบเหตุ และ ผล
มาเกี่ยวข้อง งานในยุคนี้จึงค่อนข้างยึดกฎเกณฑ์และทฤษฎี
ตามสภาวะของสังคม
แต่เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เริ่มมีการออกแบบเชิงพานิชมากขึ้น
พร้อมกับสภาพสังคมที่เริ่มมีความแตกต่างของรสนิยมมากยิ่งขึ้น
นักออกแบบในยุคนี้จึงต้องปรับตัวและออกแบบเพื่อตอบรับความต้องการ
ที่หลากหลาย เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าต้องการออกแบบโปสเตอร์ เพลงร็อค
การใช้รูปแบบ เรียบง่ายแบบ Modern คงไม่ดีแน่
ในยุคสมัยนี้ผู้คนอาจจะมองว่า โมเดิร์นลิซึ่มเป็นสิ่งที่สวยงามในเชิงบวก
แต่โพสต์โมเดรินเป็นในทางเชิงลบ เพราะยุคนี้เป็นยุคของการที่แหกกฏเกณฑ์
ในการออกแบบ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มี grid
โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัว
การทำแบบนี้น่าจะเกิดจากการแข่งขันในเชิงพานิชซึ่งต้องใช้รูปแบบแปลกตา
จะช่วยสร้างความประทับใจแก่ผู้ดูได้อีกระดับหนึ่ง
แต่ผมคิดว่างานในยุค Postmodern ถ้าไม่ดูแย่ ก็จะดูดีไปเลย
แต่ใช่่ว่างานในยุค Postmodern จะแหกกฎไปซะหมด
ซึ่งจริงๆและ้วก็ยังมีนักออกแบบรุ่นเก่าที่ยังยึดรูปแบบเดิมอยู่
ซึ่งนักออกแบบในสวิส และอังกฤษ จะไม่ค่อยสน Postmodern
ซักเท่าไหร่ งานที่เป็น Postmodern ส่วนมากจะอยู่ที่อเมริกา
ซึ่งให้ความสำคัญมากกว่า ศิลปินที่เด่นชัดก็เช่น David Carson
อีกสาเหตุหนึ่งที่เอื้อหนุนให้นักออกแบบสามารถออกแบบเชิงทดลอง
ได้มากขึ้น คือเรื่องของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
การมีคอมพิวเตอร และระบบการพิมพ์์ใหม่ๆ
ก็ช่วยให้นักออกแบบสามารถทำอะไรได้มากขึ้น
งานออกแบบในปลายศตวรรษที่ 20 ค่อนข้างที่จะลดความระห่ำลง
เริ่มมีการผสมผสานรูปแบบทั้งเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
คือ มีการใช้เหตุผลร่วมกับรูปแบบการปะติดปะต่อ จนได้งานที่ลงตัวยิ่งขึ้น
ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่นักออกแบบได้ทดลองอะไรหลายๆอย่าง
จนรูปแบบใหม่ๆค่อนข้างจะลงตัว (และไม่ค่อยมีรูปแบบงานที่ใหม่กว่าเกิดขึ้น)
จึงทำให้งานออกแบบที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ค่อนข้างจะมีวิธีแก้ปัญหามากพอในการออกแบบ
เรียกได้ว่างานกราฟิกในยุค Postmodern ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญ
ในวงการออกแบบในปัจจุบัน
วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ ไว้จะมาลงเพิ่มเติมต่อ
อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design
-No more rule in Postmodern Graphic Design
-A History of Graphic Design , Philip B. Meggs
เรียบเรียง โดย พงศธร ตั้งสะสม
โครงการอักขรศิลป์ “ทรงพระเจริญ”
เนื่องด้วยใกล้จะถึงวาระ วันพ่อมหาราช
ซึ่งหน่วยงานต่างๆหลายๆด้านก็ได้เตรียมกิจกรรม
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ซึ่งกลุ่มนักออกแบบก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างหนึ่งขึ้นมาเช่นกัน
นั่นคือ
ซึ่งเป็นโครงการออกแบบ และเผยแพร่อักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่
เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
และจะมีการรวบรวมผลงานอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ
จากนักออกแบบและผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วม
เพื่อจัดแสดงในระหว่างวันที่ 14 - 17 ธันวาคม 2550
บริเวณ โถงชั้น 1 สยามดิสคอพเวอรี่เซ็นเตอร์
และผ่านเว็บไซต์ www.songpracharoen.org
รายละเอียดจาก grafiction.blogspot.com
ก็คิดว่ามันเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ (อาจเป็นเพราะช่วงนี้
กำลังบ้า Typo ตามโม่ วริท ) จึงได้เริ่มค่อยๆเสก็ตเมื่อมีเวลาว่าง
และตอนนี้ก็ได้ผลงานออกมาแล้วหนึ่งชิ้น หึหึ
งานนี้ก็เอาความคิดเรื่อง Long Live The King มาใช้คือ
นำตัวอักษรมาเชื่อมให้ต่อเนื่องกัน และใช้การทับกันของเส้น out line
ซึ่งผมเองก็คิดว่ามันก็โอเคในระดับหนึ่งนะ ^^
ไว้มีเวลาว่างว่าจะนั่งทำอีก แต่ช่วงนี้งานเริ่มเข้าจึงขอพักไว้แค่นี้ก่อนครับ
ขอบคุณ
ซึ่งหน่วยงานต่างๆหลายๆด้านก็ได้เตรียมกิจกรรม
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
ซึ่งกลุ่มนักออกแบบก็ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอย่างหนึ่งขึ้นมาเช่นกัน
นั่นคือ
:: โครงการอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ ::
ซึ่งเป็นโครงการออกแบบ และเผยแพร่อักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่
เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
และจะมีการรวบรวมผลงานอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ
จากนักออกแบบและผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วม
เพื่อจัดแสดงในระหว่างวันที่ 14 - 17 ธันวาคม 2550
บริเวณ โถงชั้น 1 สยามดิสคอพเวอรี่เซ็นเตอร์
และผ่านเว็บไซต์ www.songpracharoen.org
รายละเอียดจาก grafiction.blogspot.com
หลังจากได้ทราบรายละเอียดจากอาจารย์ สันติ ลอรัชวี
ก็คิดว่ามันเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ (อาจเป็นเพราะช่วงนี้
กำลังบ้า Typo ตามโม่ วริท ) จึงได้เริ่มค่อยๆเสก็ตเมื่อมีเวลาว่าง
และตอนนี้ก็ได้ผลงานออกมาแล้วหนึ่งชิ้น หึหึ
งานนี้ก็เอาความคิดเรื่อง Long Live The King มาใช้คือ
นำตัวอักษรมาเชื่อมให้ต่อเนื่องกัน และใช้การทับกันของเส้น out line
ซึ่งผมเองก็คิดว่ามันก็โอเคในระดับหนึ่งนะ ^^
ไว้มีเวลาว่างว่าจะนั่งทำอีก แต่ช่วงนี้งานเริ่มเข้าจึงขอพักไว้แค่นี้ก่อนครับ
ขอบคุณ
Graphic on Enviropment II (ภาค ตะลุย แดน มังกร)
เนื่องจากได้รับโจทย์ที่น่าสนใจมาจากอาจารย์ สันติ
เรื่องกราฟิกบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งตอนแรกเราได้ไปศึกษากัน
ในห้างดังๆ ที่มักจะมีแต่ร้านแบรนด์เนมดีดี และได้นำสิ่งที่วิเคราะห์
นำมาบอกเล่าในห้องเรียน แต่อาจารก็ได้บอกให้เราลองมองในมุมมอง
หลายๆแบบ เหมือนให้เรารู้จักลองใช้ไม้บรรทัด หลายๆอัน
เพื่อให้ได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่ง ในมุมมองที่หลากหลาย
ดังนั้น อาจารจึงบอกว่าให้เราลองไปดูกราฟิกตามท้องถนนดูบ้าง
เนื่องจากเราได้เห็นพวกร้านแบรนด์เนม ดีไซน์ ดีดี ไปแล้ว
หลังจากที่เราลองได้คิดว่าจะไปไหนกันดี ตอนแรกก็มองไปที่
โซน ท่าพระจันทร์ ตามความเห็นของ โม่ (ฟานเชสโก้)
แต่เนื่องจากเน็ท ได้มีประสบการณ์ อันเลวร้ายแถวนั้น
ความเห็นนี้จึงยกเลิก แล้วจึงเลือกที่จะไปเยาวราศ
ตามความเห็นของเน็ท ที่ได้ไปปรึกษา อาจารวี วีรพร มา
โดย มี ผม โอ พงศธร ,เน็ท ฉัตรณรงค์ และ ฟานเชสโก้ โม่ วริทย์
ร่วมเดินทางไปด้วยกัน
เราได้ตั้งต้นกันที่อนุเสาวรีย์ ทันทีที่ลงเน็ทก็ได้ขอเข้าห้องน้ำ
และได้เห็นบางสิ่งที่น่าคิด คือพวกป้ายต่างๆ ในห้องน้ำ
อย่างป้าย "กรุณาปิดน้ำหลังใช้" อะไรพวกนี้ กลับทำด้วยกระดาษ
ที่ง่ายต่อการฉีกขาด (ซึ่งมี่อยู่ในห้องน้ำเต็มไปหมด)
สำหรับเราแล้วคงคิดว่าเรื่องพวกนี้ควรจะเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง
ในฐานะนักออกแบบ แต่ถ้าคิดในทางกลับกัน
ของพวกนี้จะช่วยประหยัดเงินทุนให้แก่คนทำมาก ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่อง
ความเห็นชอบของเจ้าของสถานที่
ถ้าจากที่คิดเอาเอง เนื่องจากห้องน้ำที่อนุเสาวรีย์
เป็นที่ๆมีคนเข้าใช้ตลอดทั้งวัน และมากหน้าหลายตา
ในจำนวนนั้นจะต้องมีพวกคนมือบอนที่คอยแกะป้ายพวกนี้ออก
ซึ่งหากเจ้าของไม่มีงบมากพอที่จะติดป้ายที่ทนทาน
การใช้ป้ายกระดาษราคาถูกก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุด
(แต่ไม่ว่ายังไง ผมก็คิดว่าถ้าต้องการใช้ข้อความนั้นจริงๆ
น่าจะใช้วัสดุที่ดูทนทานกว่านี้ จะดีที่สุด)
ต้องขอบคุณ เน็ท ที่สังเกตุเห็น และทำให้ผมนำมาคิดต่อ
เรานั่งรถต่อมาลงที่สำเพ็งแล้วคิดว่าจะค่อยไปเดินเยาวราศ
เรายืนคิดกันว่าทำยังไงเราถึงจะเห็นมุมมองที่หลากหลาย
ก็ได้ความว่าอยากเห็นมุมมองอื่น เราก็ถามคนอื่นซะก็สิ้นเรื่อง
เราเดินหาคนที่น่าจะเป็นเป้าหมายในการถาม และน่าจะให้ความร่วมมือ
คือ พวกนักศึกษาที่มา ช้อปปิ้ง คนที่อาศัยในสถานที่ และชาวต่างชาติ
ซึ่งเดินไปเดินมาก็ไม่กล้าที่จะถาม เพราะด้วยการจราจรที่ติดขัด
ซึ่งถ้าเราหยุดถามจะทำให้คนข้างหลังตบกบาลเอาได้ เราจึงมุ่งไปเยาวราศ
ระหว่างนั้นเราได้สังเกตุและวิเคราะห์ในแบบของเราได้ว่า
พวกป้ายหน้าร้านตามท้องถนน มักจะคำนึงถึงเรื่องขนาดเป็นหลัก
ประมาณว่าให้คนเห็นก็พอ เพราะเห็นขนาดร้านขายลูกชิ้น
ยังทำป้ายขนาดเท่ารถเข็น ทั้งๆที่เขียนข้อมูลนิดเดียว
ตรงจุดนี้น่าจะเป็นเพราะร้านในย่านนี้น่าจะแข่งกันในเรื่องของราคา
มากกว่าความสวยงามของร้าน เพราะคนที่มาที่นี้น่าจะมาเพื่อซื้อของถูก
(พวกป้าๆ จะยิ่งเยอะ ในแถวๆนี้ - -") คือต่อให้ร้านสวยแต่ของแพง
คนก็จะไปร้านอื่นเพราะมีของให้เลือกเยอะ
แต่ก็ยังมีพวกป้ายร้านที่น่าสนใจอยู่
อย่างร้านนี้ดูตอนแรกนึกว่าขายกระเบื้อง แต่กลับเป็นร้านขายของชำรวย
แต่ด้วยการใช้ วัสดุ และ ไทโปกราฟี่ (รึเปล่าหว่า?)
ทำให้ร้านนี้ติดตาผมไปจนจบการเดินทาง
พอถึงเยาวราศสิ่งแรกที่เราเห็นก็คือป้ายสีแดงที่มีอยู่เต็มไปหมด
(เพราะมันคือเยาวราศ) พร้อมกับภาษาจีนที่อ่านไม่ออก (ทั้งที่มีเชื้อจีน - -)
พอเดินไปได้ซักพักก็ได้เจอเสื้อถูกใจจึงตัดสินใจซื้อ และถือโอกาสถาม
ป้าร้านขายเสื้อที่น่าขายแถวนี้มานานว่า
รู้สึกยังไงกับพวกป้ายร้านที่อยู่ในเยาวราศ
ซึ่งป้าก็บอกว่าป้ายในเยาวราศมีจุดหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก
หากต้องการป้ายซักอัน คือ
เรื่องของดวง สิริมงคล และฮวงจุ้ย
ซึ่งป้าบอกมาว่าสีแดงกับสีทองเป็นสีที่จะเสริมความเป็นสิริมงคล
ให้กับเจ้าของ
ซึ่งกรณีที่เรื่องของดวงและฮวงจุ้ยมามีอิทธิพลในการออกแบบ
ก็มีกันให้เห็นมาแล้ว อย่างกรณี ของธนาคารกสิกร ซึ่งการเปลี่ยน
โลโก้ล่าสุด ก็เป็นเพราะเรื่องของฮวงจุ้ย เช่นกัน
ซึ่งผมก็ไม่แปลกใจที่คนจีนจะยึดติดกับเรื่องพวกนี้เพราะผมก็เป็นลูกหลานคนจีน
ต่อมาเราก็เดินต่อในเยาวราศและพบว่าร้านในเยาวราศ
มักจะเป็นรูปแบบเดียวกัน คือ มีสีแดง สีทอง และภาษาจีน
มีอยู่ร้านหนึ่งที่สีแตกต่างคือร้าน ฮั่ว เซ็ง เฮง ที่ใช้สี เขียว สีส้ม
(มีสีอื่นรึเปล่าไม่แน่ใจ) ซึ่งอันนี้ก็ไม่รู้ทำไม
แต่ก็น่าจะเป็นเรื่องของสิริมงคลอีกนั่นละ
หลังจากที่ทำใจอยู่นาน ผมจึงได้ตัดสินใจไปสอบถามความเห็น
จากชาวต่างชาติ และมองไปที่พวกแบบคุณลุงผิวขายอ้วนๆท่าทางผู้ดี
แต่ปรากฏว่าคุณลุงคนแรกที่ทักไปกลับไม่ให้ความร่วมมือ (แถมมองแบบเหยียดๆ)
ซึ่งทำให้พวกเราอารมเสียไปตามๆกัน ต่อมาจงคิดกันว่าน่าจะเลือก
พวกชาวต่างชาติที่ดูกังๆ แบกเป้ ยืนถ่ายรูป ดูประมาณนักผจญภัย
และเราก็ได้ตัดสินใจถามชายคนหนึ่งโดยมี ฟานเชสโก้ โม่ วริท เป็นคนเปิดถาม
และชาวต่างชาติก็บอกว่าตัวเองเป็นคนเยอรมัน ชื่อว่าคุณ "เฟดเดอริก"
ซึ่งให้ความร่วมมืออย่างดี เราถามก่อนว่า
"รู้สึกอย่างไรกับสภาพแวดล้อมแถวนี้"(แปลเป็นภาษาอังกฤษเอาเองนะครับ)
คุณเฟดเดอริก: ผมรู้สึกอัศจรรย์มาก ที่นี่เป็น ไชน่าทาวน์ ที่ต่างจากในประเทศผม
มันดูใหญ่ และมีเสียงดัง (จากคนที่พลุกพล่าน) เมื่อสองวันก่อนผม
ยังอยู่ที่ทะเล มันเงียบมาก พอมาอยู่ที่นี่ (คุณ เฟดเดอริกเงียบและเราก็หัวเราะ
เพราะโดยรอบมีแต่เสียงดัง) คุณดูสิ มันมีความต่างมากไปหมด เหมือนขาวกับดำ
คุณกับผม ต่างจากไชน่าทาวน์ที่อื่น ที่คนเหล่านั้นมักจะตัวเล็ก
และไม่ยินดีกับคนนอก (แปลผิดรึเปล่าไม่แน่ใจ) มันยอดมากๆ
คุณเฟดเดอริก จึงถามว่าเราเป็นนักเรียนหรือ เราจึงบอกไปว่าเป็นนักเรียนสาขาออกแบบ
จากนั้นคุณ เฟดเดอริกก็พูดถึงเรื่องครอบครัวซึ่งเราจะข้ามไป
เราถามต่อว่า "คุณคิดยังไงกับพวกกราฟิกและป้ายในแถบนี้"
คุณเฟดเดอริกบอกว่าเนื่องจากเค้าอ่านภาษาจีนไม่ออก เพียงแต่พอจะบอกได้ว่า
เค้าสามารถแยกแยะได้ว่าที่นี่เป็น ไชน่าทาวน์ และพอจะดูออกบ้างว่าป้ายร้านนี้
ขายอะไร ร้านนั้นขายอะไร เท่านั้นเอง
เราคุยกับคุณ เฟดเดอริกอีกซักพัก จึงบอกลาและไปที่อื่นต่อ
เราไปต่อกันที่ "ดิ โอล สยาม" ซึ่งเป็นห้างที่มีความเป็นเอกลักษณ์แบบย้อนยุค
ซึ่งด้านในของห้างจะถูกออกแบบให้เป็นแบบย้อนยุค แม้แต่บันไดในร้านเคเอฟซี
ยังทำแบบย้อนยุค!? คือเน้นเรื่อง Theme มากๆ ซึ่งผมว่ามันก็ดูน่าสนใจดี
เพราะห้างนี้คงไม่ใช่ห้างที่ให้พวก ไฮโซ ใช้สินค้าแบรนด์เนม มาเดินแน่ๆ
กลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นพวกคุณลุงคุณป้า กับเด็กนักเรียน ซะมากกว่า
ซึ่งผมคิดเอาจากสภาพในห้างและของที่ขาย และคิดว่าที่ผมคิดมันคงจะถูกต้อง
พอเสร็จจากการเดินดูที่ "ดิ โอล สยาม" เวลาก็ปาเข้าไปจะ 6 โมงแล้ว
ซึ่งพวกผมออกกันมาตอน 10 โมงเช้า รวมเวลามาเดินก็ปาเข้าไปร่วม 7 ชั่วโมง
ซึ่งพวกเราก็คิดว่าได้อะไรเพียงพอจึงได้ตัดสินใจกลับหอกัน
หลังจากที่เดินมาก็พอจะสรุปได้ว่า
- ร้านค้าในระดับรากหญ้ามักจะให้ความสำคัญกับขนาดของกราฟิกที่ใช้
มากกว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะพิเศษของร้าน เช่น บางร้านได้ขายของเก่าย้อนยุค
แต่ป้ายหน้าร้านกลับไม่ได้บ่งบอกเลยว่าร้านนี้ขายของย้อนยุค มีเพียงป้ายใหญ่ๆ
และข้อความที่บอกทุกอย่างว่าขายอะไรบ้าง ติดต่อยังไง อยู่ที่ไหน เท่าที่ที่จะพอใส่
แต่พอจะเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ว่าร้านพวกนี้ขอแค่ให้คนเห็นว่าขายอะไรก็พอ
เพื่อให้คนมาดูร้านตนก่อนร้านอื่น เพราะร้านข้างถนนมีการแข่งขันกันมาก
- เรื่องเงินทุน มีใครบ้างที่ไม่อยากทำร้านให้ดีดี ป้ายใหญ่ๆ สวยๆ ก็เพราะมีงบประมาณ
จำกัดนั่นแหละ ทำให้พวกคนพวกนี้เลือกใช้แต่ของถูก และง่ายต่อการแสวงหา
เพื่อที่จะซ่อมแซมและแก้ไขราคา ได้ตลอดเวลา และไม่เปลืองงบ
(ซึ่งข้อนี้ผมเห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องรสนิยมของคนไทย ที่เห็นเค้าทำมายังไงก็ทำแบบนั้น
กรณีก็มีให้เห็นบ่อย คิดว่าบางอย่างแค่ทำง่ายๆก็สวยได้เหมือนกัน)
- ความเชื่อ เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องที่ตัดไม่ขาด ของนักค้ากำไรทั้งหลาย
ฉะนั้น ในป้ายร้านของคนพวกนี้จะยัดอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งสิริมงคลจะเข้าไปอยู่ได้
ขอแค่มีชื่อร้าน กับว่าขายอะไรก็พอ (ขนาดรถเข็นขายน้ำตาลสด
ยังทำป้ายสีแดงเลย - -")
ที่พอสรุปได้ก็มีประมาณนี้ครับ
อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัว
โดยรวมคือ ของพวกนี้มักจะมาเป็นแพทเทรินเดียวกันหมด คือใครทำแล้วดี กูทำมั่ง โดยคำนึงว่าร้านตัวเองควรจะมีเอกลักษณ์ ต่างจากร้านอื่น น้อยมาก ซึ่งนี่น่าจะมาจากการที่คนไทยเห็นอะไร ที่มันไม่มีรสนิยมมานาน อันนี้เป็นเรื่องที่ผม เศร้ามากๆ ที่ประเทศเรา ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการออกแบบเท่าที่ควร และหวังว่าสักวันคนรุ่นใหม่ จะเปลี่ยนรูปแบบเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้นะครับ (รวมรุ่นผมด้วย)
ทั้งหมดนี้มีความคิดเห็นส่วนตัวของผมอยู่ด้วยควรมีวิจารณญาณ
หากมีอะไรไม่เหมาะสมก็บอกไว้ได้ครับ ขอบคุณ
ขอขอบคุณ
- ฟานเชสโก้ โม่ วริท ที่ยอมทำตามคำชวนไปเดินด้วยกันอีกครั้งซึ่ง ช่วยเพิ่มความบันเทิงในการเดินทางได้มากเลย
- เน็ท ที่ร่วมเดินทางด้วยกันอย่างสนุกสนานอีกครั้ง
- คุณ เฟดเดอริก กับ ป้าร้านขายเสื้อ ที่ให้ความร่วมมือตอบคำถาม
- อาจารย์ ติ้ก กับ อาจารย์ มะลิ กับข้อคิดดีดี
เรื่องกราฟิกบนสถานที่ต่างๆ ซึ่งตอนแรกเราได้ไปศึกษากัน
ในห้างดังๆ ที่มักจะมีแต่ร้านแบรนด์เนมดีดี และได้นำสิ่งที่วิเคราะห์
นำมาบอกเล่าในห้องเรียน แต่อาจารก็ได้บอกให้เราลองมองในมุมมอง
หลายๆแบบ เหมือนให้เรารู้จักลองใช้ไม้บรรทัด หลายๆอัน
เพื่อให้ได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่ง ในมุมมองที่หลากหลาย
ดังนั้น อาจารจึงบอกว่าให้เราลองไปดูกราฟิกตามท้องถนนดูบ้าง
เนื่องจากเราได้เห็นพวกร้านแบรนด์เนม ดีไซน์ ดีดี ไปแล้ว
หลังจากที่เราลองได้คิดว่าจะไปไหนกันดี ตอนแรกก็มองไปที่
โซน ท่าพระจันทร์ ตามความเห็นของ โม่ (ฟานเชสโก้)
แต่เนื่องจากเน็ท ได้มีประสบการณ์ อันเลวร้ายแถวนั้น
ความเห็นนี้จึงยกเลิก แล้วจึงเลือกที่จะไปเยาวราศ
ตามความเห็นของเน็ท ที่ได้ไปปรึกษา อาจารวี วีรพร มา
โดย มี ผม โอ พงศธร ,เน็ท ฉัตรณรงค์ และ ฟานเชสโก้ โม่ วริทย์
ร่วมเดินทางไปด้วยกัน
เราได้ตั้งต้นกันที่อนุเสาวรีย์ ทันทีที่ลงเน็ทก็ได้ขอเข้าห้องน้ำ
และได้เห็นบางสิ่งที่น่าคิด คือพวกป้ายต่างๆ ในห้องน้ำ
อย่างป้าย "กรุณาปิดน้ำหลังใช้" อะไรพวกนี้ กลับทำด้วยกระดาษ
ที่ง่ายต่อการฉีกขาด (ซึ่งมี่อยู่ในห้องน้ำเต็มไปหมด)
สำหรับเราแล้วคงคิดว่าเรื่องพวกนี้ควรจะเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง
ในฐานะนักออกแบบ แต่ถ้าคิดในทางกลับกัน
ของพวกนี้จะช่วยประหยัดเงินทุนให้แก่คนทำมาก ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่อง
ความเห็นชอบของเจ้าของสถานที่
ถ้าจากที่คิดเอาเอง เนื่องจากห้องน้ำที่อนุเสาวรีย์
เป็นที่ๆมีคนเข้าใช้ตลอดทั้งวัน และมากหน้าหลายตา
ในจำนวนนั้นจะต้องมีพวกคนมือบอนที่คอยแกะป้ายพวกนี้ออก
ซึ่งหากเจ้าของไม่มีงบมากพอที่จะติดป้ายที่ทนทาน
การใช้ป้ายกระดาษราคาถูกก็น่าจะเป็นทางเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุด
(แต่ไม่ว่ายังไง ผมก็คิดว่าถ้าต้องการใช้ข้อความนั้นจริงๆ
น่าจะใช้วัสดุที่ดูทนทานกว่านี้ จะดีที่สุด)
ต้องขอบคุณ เน็ท ที่สังเกตุเห็น และทำให้ผมนำมาคิดต่อ
เรานั่งรถต่อมาลงที่สำเพ็งแล้วคิดว่าจะค่อยไปเดินเยาวราศ
เรายืนคิดกันว่าทำยังไงเราถึงจะเห็นมุมมองที่หลากหลาย
ก็ได้ความว่าอยากเห็นมุมมองอื่น เราก็ถามคนอื่นซะก็สิ้นเรื่อง
เราเดินหาคนที่น่าจะเป็นเป้าหมายในการถาม และน่าจะให้ความร่วมมือ
คือ พวกนักศึกษาที่มา ช้อปปิ้ง คนที่อาศัยในสถานที่ และชาวต่างชาติ
ซึ่งเดินไปเดินมาก็ไม่กล้าที่จะถาม เพราะด้วยการจราจรที่ติดขัด
ซึ่งถ้าเราหยุดถามจะทำให้คนข้างหลังตบกบาลเอาได้ เราจึงมุ่งไปเยาวราศ
ระหว่างนั้นเราได้สังเกตุและวิเคราะห์ในแบบของเราได้ว่า
พวกป้ายหน้าร้านตามท้องถนน มักจะคำนึงถึงเรื่องขนาดเป็นหลัก
ประมาณว่าให้คนเห็นก็พอ เพราะเห็นขนาดร้านขายลูกชิ้น
ยังทำป้ายขนาดเท่ารถเข็น ทั้งๆที่เขียนข้อมูลนิดเดียว
ตรงจุดนี้น่าจะเป็นเพราะร้านในย่านนี้น่าจะแข่งกันในเรื่องของราคา
มากกว่าความสวยงามของร้าน เพราะคนที่มาที่นี้น่าจะมาเพื่อซื้อของถูก
(พวกป้าๆ จะยิ่งเยอะ ในแถวๆนี้ - -") คือต่อให้ร้านสวยแต่ของแพง
คนก็จะไปร้านอื่นเพราะมีของให้เลือกเยอะ
แต่ก็ยังมีพวกป้ายร้านที่น่าสนใจอยู่
อย่างร้านนี้ดูตอนแรกนึกว่าขายกระเบื้อง แต่กลับเป็นร้านขายของชำรวย
แต่ด้วยการใช้ วัสดุ และ ไทโปกราฟี่ (รึเปล่าหว่า?)
ทำให้ร้านนี้ติดตาผมไปจนจบการเดินทาง
พอถึงเยาวราศสิ่งแรกที่เราเห็นก็คือป้ายสีแดงที่มีอยู่เต็มไปหมด
(เพราะมันคือเยาวราศ) พร้อมกับภาษาจีนที่อ่านไม่ออก (ทั้งที่มีเชื้อจีน - -)
พอเดินไปได้ซักพักก็ได้เจอเสื้อถูกใจจึงตัดสินใจซื้อ และถือโอกาสถาม
ป้าร้านขายเสื้อที่น่าขายแถวนี้มานานว่า
รู้สึกยังไงกับพวกป้ายร้านที่อยู่ในเยาวราศ
ซึ่งป้าก็บอกว่าป้ายในเยาวราศมีจุดหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก
หากต้องการป้ายซักอัน คือ
เรื่องของดวง สิริมงคล และฮวงจุ้ย
ซึ่งป้าบอกมาว่าสีแดงกับสีทองเป็นสีที่จะเสริมความเป็นสิริมงคล
ให้กับเจ้าของ
ซึ่งกรณีที่เรื่องของดวงและฮวงจุ้ยมามีอิทธิพลในการออกแบบ
ก็มีกันให้เห็นมาแล้ว อย่างกรณี ของธนาคารกสิกร ซึ่งการเปลี่ยน
โลโก้ล่าสุด ก็เป็นเพราะเรื่องของฮวงจุ้ย เช่นกัน
ซึ่งผมก็ไม่แปลกใจที่คนจีนจะยึดติดกับเรื่องพวกนี้เพราะผมก็เป็นลูกหลานคนจีน
ต่อมาเราก็เดินต่อในเยาวราศและพบว่าร้านในเยาวราศ
มักจะเป็นรูปแบบเดียวกัน คือ มีสีแดง สีทอง และภาษาจีน
มีอยู่ร้านหนึ่งที่สีแตกต่างคือร้าน ฮั่ว เซ็ง เฮง ที่ใช้สี เขียว สีส้ม
(มีสีอื่นรึเปล่าไม่แน่ใจ) ซึ่งอันนี้ก็ไม่รู้ทำไม
แต่ก็น่าจะเป็นเรื่องของสิริมงคลอีกนั่นละ
หลังจากที่ทำใจอยู่นาน ผมจึงได้ตัดสินใจไปสอบถามความเห็น
จากชาวต่างชาติ และมองไปที่พวกแบบคุณลุงผิวขายอ้วนๆท่าทางผู้ดี
แต่ปรากฏว่าคุณลุงคนแรกที่ทักไปกลับไม่ให้ความร่วมมือ (แถมมองแบบเหยียดๆ)
ซึ่งทำให้พวกเราอารมเสียไปตามๆกัน ต่อมาจงคิดกันว่าน่าจะเลือก
พวกชาวต่างชาติที่ดูกังๆ แบกเป้ ยืนถ่ายรูป ดูประมาณนักผจญภัย
และเราก็ได้ตัดสินใจถามชายคนหนึ่งโดยมี ฟานเชสโก้ โม่ วริท เป็นคนเปิดถาม
และชาวต่างชาติก็บอกว่าตัวเองเป็นคนเยอรมัน ชื่อว่าคุณ "เฟดเดอริก"
ซึ่งให้ความร่วมมืออย่างดี เราถามก่อนว่า
"รู้สึกอย่างไรกับสภาพแวดล้อมแถวนี้"(แปลเป็นภาษาอังกฤษเอาเองนะครับ)
คุณเฟดเดอริก: ผมรู้สึกอัศจรรย์มาก ที่นี่เป็น ไชน่าทาวน์ ที่ต่างจากในประเทศผม
มันดูใหญ่ และมีเสียงดัง (จากคนที่พลุกพล่าน) เมื่อสองวันก่อนผม
ยังอยู่ที่ทะเล มันเงียบมาก พอมาอยู่ที่นี่ (คุณ เฟดเดอริกเงียบและเราก็หัวเราะ
เพราะโดยรอบมีแต่เสียงดัง) คุณดูสิ มันมีความต่างมากไปหมด เหมือนขาวกับดำ
คุณกับผม ต่างจากไชน่าทาวน์ที่อื่น ที่คนเหล่านั้นมักจะตัวเล็ก
และไม่ยินดีกับคนนอก (แปลผิดรึเปล่าไม่แน่ใจ) มันยอดมากๆ
คุณเฟดเดอริก จึงถามว่าเราเป็นนักเรียนหรือ เราจึงบอกไปว่าเป็นนักเรียนสาขาออกแบบ
จากนั้นคุณ เฟดเดอริกก็พูดถึงเรื่องครอบครัวซึ่งเราจะข้ามไป
เราถามต่อว่า "คุณคิดยังไงกับพวกกราฟิกและป้ายในแถบนี้"
คุณเฟดเดอริกบอกว่าเนื่องจากเค้าอ่านภาษาจีนไม่ออก เพียงแต่พอจะบอกได้ว่า
เค้าสามารถแยกแยะได้ว่าที่นี่เป็น ไชน่าทาวน์ และพอจะดูออกบ้างว่าป้ายร้านนี้
ขายอะไร ร้านนั้นขายอะไร เท่านั้นเอง
เราคุยกับคุณ เฟดเดอริกอีกซักพัก จึงบอกลาและไปที่อื่นต่อ
เราไปต่อกันที่ "ดิ โอล สยาม" ซึ่งเป็นห้างที่มีความเป็นเอกลักษณ์แบบย้อนยุค
ซึ่งด้านในของห้างจะถูกออกแบบให้เป็นแบบย้อนยุค แม้แต่บันไดในร้านเคเอฟซี
ยังทำแบบย้อนยุค!? คือเน้นเรื่อง Theme มากๆ ซึ่งผมว่ามันก็ดูน่าสนใจดี
เพราะห้างนี้คงไม่ใช่ห้างที่ให้พวก ไฮโซ ใช้สินค้าแบรนด์เนม มาเดินแน่ๆ
กลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นพวกคุณลุงคุณป้า กับเด็กนักเรียน ซะมากกว่า
ซึ่งผมคิดเอาจากสภาพในห้างและของที่ขาย และคิดว่าที่ผมคิดมันคงจะถูกต้อง
พอเสร็จจากการเดินดูที่ "ดิ โอล สยาม" เวลาก็ปาเข้าไปจะ 6 โมงแล้ว
ซึ่งพวกผมออกกันมาตอน 10 โมงเช้า รวมเวลามาเดินก็ปาเข้าไปร่วม 7 ชั่วโมง
ซึ่งพวกเราก็คิดว่าได้อะไรเพียงพอจึงได้ตัดสินใจกลับหอกัน
หลังจากที่เดินมาก็พอจะสรุปได้ว่า
- ร้านค้าในระดับรากหญ้ามักจะให้ความสำคัญกับขนาดของกราฟิกที่ใช้
มากกว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะพิเศษของร้าน เช่น บางร้านได้ขายของเก่าย้อนยุค
แต่ป้ายหน้าร้านกลับไม่ได้บ่งบอกเลยว่าร้านนี้ขายของย้อนยุค มีเพียงป้ายใหญ่ๆ
และข้อความที่บอกทุกอย่างว่าขายอะไรบ้าง ติดต่อยังไง อยู่ที่ไหน เท่าที่ที่จะพอใส่
แต่พอจะเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ว่าร้านพวกนี้ขอแค่ให้คนเห็นว่าขายอะไรก็พอ
เพื่อให้คนมาดูร้านตนก่อนร้านอื่น เพราะร้านข้างถนนมีการแข่งขันกันมาก
- เรื่องเงินทุน มีใครบ้างที่ไม่อยากทำร้านให้ดีดี ป้ายใหญ่ๆ สวยๆ ก็เพราะมีงบประมาณ
จำกัดนั่นแหละ ทำให้พวกคนพวกนี้เลือกใช้แต่ของถูก และง่ายต่อการแสวงหา
เพื่อที่จะซ่อมแซมและแก้ไขราคา ได้ตลอดเวลา และไม่เปลืองงบ
(ซึ่งข้อนี้ผมเห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องรสนิยมของคนไทย ที่เห็นเค้าทำมายังไงก็ทำแบบนั้น
กรณีก็มีให้เห็นบ่อย คิดว่าบางอย่างแค่ทำง่ายๆก็สวยได้เหมือนกัน)
- ความเชื่อ เรื่องนี้คงจะเป็นเรื่องที่ตัดไม่ขาด ของนักค้ากำไรทั้งหลาย
ฉะนั้น ในป้ายร้านของคนพวกนี้จะยัดอะไรก็ตามที่เป็นสิ่งสิริมงคลจะเข้าไปอยู่ได้
ขอแค่มีชื่อร้าน กับว่าขายอะไรก็พอ (ขนาดรถเข็นขายน้ำตาลสด
ยังทำป้ายสีแดงเลย - -")
ที่พอสรุปได้ก็มีประมาณนี้ครับ
อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัว
โดยรวมคือ ของพวกนี้มักจะมาเป็นแพทเทรินเดียวกันหมด คือใครทำแล้วดี กูทำมั่ง โดยคำนึงว่าร้านตัวเองควรจะมีเอกลักษณ์ ต่างจากร้านอื่น น้อยมาก ซึ่งนี่น่าจะมาจากการที่คนไทยเห็นอะไร ที่มันไม่มีรสนิยมมานาน อันนี้เป็นเรื่องที่ผม เศร้ามากๆ ที่ประเทศเรา ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการออกแบบเท่าที่ควร และหวังว่าสักวันคนรุ่นใหม่ จะเปลี่ยนรูปแบบเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้นะครับ (รวมรุ่นผมด้วย)
ทั้งหมดนี้มีความคิดเห็นส่วนตัวของผมอยู่ด้วยควรมีวิจารณญาณ
หากมีอะไรไม่เหมาะสมก็บอกไว้ได้ครับ ขอบคุณ
ขอขอบคุณ
- ฟานเชสโก้ โม่ วริท ที่ยอมทำตามคำชวนไปเดินด้วยกันอีกครั้งซึ่ง ช่วยเพิ่มความบันเทิงในการเดินทางได้มากเลย
- เน็ท ที่ร่วมเดินทางด้วยกันอย่างสนุกสนานอีกครั้ง
- คุณ เฟดเดอริก กับ ป้าร้านขายเสื้อ ที่ให้ความร่วมมือตอบคำถาม
- อาจารย์ ติ้ก กับ อาจารย์ มะลิ กับข้อคิดดีดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)