วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551

ย้ายบล้อกแล้วครับ

ย้ายไปเป็น

http://swingdesign.blogspot.com/

เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางการทำบล้อกและเนื้อหาครับ

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Final Project



นี่เป็นงานที่สร้างเสร็จ หากแต่ยังสามารถแก้ไขได้อีกมาก
หากมีการพัฒนา จะนำมาให้ดูกันต่อไป

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

จบลงที่ Motion Graphic

หลังจากได้ดำเนินการทำงานในโจทย์ เรื่อง
Micro Macro มาจนถึงสัปดาห์สุดท้าย

Message ที่เคยคิดไว้ได้ถูกสร้างออกมาเป็นโปสเตอร์

แต่ปรากฎว่าโดน Comment จากอาจารย์ทั้งสอง
ในเรื่องของความเหมาะสมของ Media ว่า
แนวคิดที่มันเป็น Sequence ก็ไม่ควรออกมาเป็นกระดาษ 3-4 แผ่น

ซึ่งหลังจากโดนเตือนสติ เลยกลับมานั่งทำงานสุดท้ายด้วยรูปแบบของ

" Motion Graphic "

ซึ่งเริ่มด้วยการถ่ายวีดีโอ แล้วปรับภาพให้เป็นกราฟิค
ซึ่งคิดว่าจะได้การเคลี่อนไหวที่ดีกว่า

...แต่ปรากฎว่ามันไม่เวริค ด้วยทักษะการถ่ายวีดีโอแบบ เก้ๆ กังๆ
และไฟล์วีดีโอที่ไม่ได้เป็นกรีนสกรีน ทำให้การ die cut ออกมาแล้ว
ภาพไม่ชัดเจนและได้มุมไม่ดีพอจะดูได้ - -"

สุดท้ายจึงจบลงด้วยการทำกราฟิคเป็นชิ้น แขนขา มาขยับเอาเอง

ดังนี้แหละครับ ^^"

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Can't chance by one

อันนี้เป็นงานที่ทำในโปรเจ็คครับ :)

Global warming

ได้ฤกษ์สร้างงานปลุกกระแส โลกร้อน กันบ้าง
คิดว่าถ้าหลายคนได้คิดถึงเรื่องนี้กันจริงจังบ้างก็ดี
เพราะอนาคตเราก็ไม่เราก็ต้องลูกหลานเรา
ที่ได้รับผลกระทบ ช่วยกันคนละนิดละหน่อยก็ยังดีเนอะ ^^

เอาข้อมูลโลกร้อนมาฝากกัน
(ข้อมูลจาก ไทยวิกิพีเดีย
http://th.wikipedia.org)

ปรากฏการณ์โลกร้อน (Global warming) หมายถึงการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกของอากาศที่ระดับใกล้ผิวโลกและของน้ำในมหาสมุทรในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาและรวมถึงการพยากรณ์หรือคาดการณ์ในการเพิ่มที่ต่อเนื่อง

อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยของอากาศที่ใกล้ผิวดินเพิ่ม 0.74 ± 0.18 °ซ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมานับถึง พ.ศ. 2548[1] คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change-IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก[1] ปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นการผันแปรในการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟอาจมีผลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และผลด้านการลดอุณหภูมินับแต่ปี 2490 เป็นต้นมา[2][3] ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติของชาติสำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ[4] แม้จะมีนักวิทยาศาสตร์รายบุคคลบางคนมีความเห็นโต้แย้งในข้อสรุปของ IPPC อยู่บ้าง[5] แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้[6][7]

แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 °ซ ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2543-2643)[1] ช่วงของค่าตัวเลขได้จากการการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของสภาพไวของภูมิอากาศ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะพุ่งจุดไปที่ระยะเวลาถึง พ.ศ. 2643 แต่การร้อนขึ้นและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะยังคงเพิ่มต่อเนื่องไปอีกมากกว่าสหัสวรรษแม้ระดับของแก๊สเรือนกระจกจะอยู่ในภาวะสเถียรแล้วก็ตาม ความช้าในความสเถียรของอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเกิดจากความจุความร้อนที่สูงของน้ำในมหาสมุทร[1]

การเพิ่มอุณหภูมิของโลกจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและคาดว่าจะเป็นเหตุให้เกิดการผันแปรที่รุนแรงของภูมิอากาศและเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความถี่ของหยาดน้ำฟ้า ผลกระทบของโลกร้อนอื่นๆ รวมทั้งผลิตผลทางเกษตรและการเพิ่มช่วงกว้างของตัวนำเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย

ความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ รวมถึงปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของการร้อนขึ้นที่มีต่อแต่ละภูมิภาคของทั้งโลกว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร การโต้เถียงกันทางการเมืองและสาธารณชนทั้งโลกที่เกี่ยวกับมาตรการ ถ้ามี ว่าควรเป็นอย่างไรจึงจะลดหรือย้อนกลับการร้อนขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ เกือบทั้งหมดได้ลงนามและให้สัตยาบรรณในพิธีสารเกียวโตซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกและประเทศต่างๆ นอกจากสหรัฐฯ ก็ยังมีการอภิปรายถกเถียงในเรื่องผลกระทบและความไม่แน่นอนของปรากฏการณ์โลกร้อนนี้น้อยมาก



อ่านดูแล้วรู้สึกถึงความน่ากลัวที่จะเกิดในอนาคตเลย

ก็ต้องร่วมมือร่วมใจกันช่วยโลกเราเอง

โลกเราเราไม่ช่วยแล้วใครจะมาช่วย จริงมั้ย ^^

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คิดไปถึง Presentation

หลังจากทำงานไปเรื่อยๆ
ทำให้รู้สึกว่าอย่างน้อยก็อยากทำ
Presentation ให้ดูดีหน่อย ^^



แต่ก็ยังไม่ได้เตรียมเลือกวัสดุเลย - -"
นี่ก็ลองคิดเป็นไอเดียแรก

เพื่อนๆอยากติชมก็ช่วยหน่อยนะครับ :p

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Thing Difference

"Art is not an intention,
Good work is an intention,
Art happens when you're lucky,"

-Paul Rand

เป็นคำพูดที่มีความหมายน่าสนใจดี
ของพอล แรนด์ แปลคร่าวๆก็

"ศิลปะไม่เกิดขึ้นเพราะตั้งใจให้เกิด
งานที่ดีเกิดขึ้นได้เพราะความตั้งใจ
แต่ศิลปะจะเกิดเมื่อคุณโชคดี"

m_cro (Global Warming)

การทับถมของพฤติกรรม
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก





วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

m_cro (เบี้ยบ้ายริมทาง01)




นี่เป็นการทดลองหาขอบเขตของผลกระทบจากหน่วยย่อย

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551

ต่างที่มุมมอง

เคยรู้สึกไหมครับ
ว่าพวกรอยแตกรอยร้าวตามถนน กำแพง
หรือเท็กเจอร์ ของพวกพื้นปูน กระเบื้อง
ของที่เห็นได้ตามถนน

ก็สามารถกลายเป็นภาพที่มีเรื่องราว มีสเน่ห์ได้
นี่เป็นภาพที่เพื่อนผมไปถ่ายมา
( สมแซม แสนชื่น ) เอามาให้ดู
มันเป็นรูปถ่ายที่ครอปภาพ Texture สิ่งที่เห็นได้ตามถนน
ซึ่งดูแล้วมันไม่ได้แค่เป็นภาพที่ดูสวย
มันให้อารมณ์บางอย่าง พร้อมกับเรื่องราวบางอย่าง(เช่นกัน)






ซึ่งกรณีพวกนี้ก็มักจะมีคนนำไปเป็น คอนเซ็ปสร้างงานศิลป์
อยู่แล้ว ไอ้การเอาสิ่งที่เห็นประจำ มาทำให้มันดูมีคุณค่า
มักจะเป็นสิ่งที่คนให้ความสนใจ

แต่ที่อยากจะบอกจริงๆคือ ไม่ว่าอะไรก็ตาม
จะไกลตัว ใกล้ตัว มันเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้ทั้งนั้นจริงๆ
อยากให้เพื่อนๆ ช่วยสังเกตุ เจออะไรน่าสนใจก็จดไว้เลยดีกว่า
จะได้ไม่ลืม แบบผมเวลาปิ้งอะไรในหัวมักไม่จด
ทำให้เสียไอเดียดีดี ไปหลาย

เหมือนเอาเรื่องมาช่วยย้ำเท่านั้นแหละครับ เพราะผมเชื่อว่า
ทุกคนก็ต้องรู้ในจุดนี้อยู่แล้ว อยู่ที่ใครจะมองแบบไหน
มันต่างกันที่มุมมอง

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

Micro & Macro

หลังจากได้รับโจทย์มาเป็นคำสองคำ ว่า Macro & Micro
ตอนแรกผมรู้จักมันในความหมายว่า จุลภาค และ มหัพภาค

การเข้าไปหาข้อมูลกับความหมายมันอีกครั้งเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
เป็นเรื่องที่ควรทำในการหาโครงการทำงานออกแบบจากสองคำนี้

หลังจากที่หาข้อมูลด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง ทำให้คิดว่ากรอบของคนหนึ่งคนมันแคบไป
จึงได้นัดเพื่อนๆไปคุยกันที่ทรูคาเฟ่ (สถานที่ที่เหมาะแก่การคุยที่สุดในซอยหอ) อีกครั้ง
โดยมี ผม(โอ) เน็ท เดา พุด โก้ และฟรานเชสโก้ โม่ วริท

เราได้คุยกันในหลายๆมุมมอง และเริ่มด้วยการถกเถียง (โต๊ะข้างๆอาจจะนึกว่าทะเลาะกัน เห็นลุกหนี)
ก็เริ่มด้วยการคิดเรื่องของความเกี่ยวข้องกัน ระหว่าง ไมโคร และแม็คโคร
ว่าถ้ามีไมโครแล้วไม่มี แม็คโครได้มัย มันมีความสัมพันธ์กันในด้านไหนบ้าง

หลังจากคุยไปซักพักก็เริ่มเข้าใจกันมากขึ้น และเราก็คิดว่าการหาตัวอย่าง
หรือหาเรื่องมาครอบ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้น

ดีโก้เริ่มยกตัวอย่างด้วยเรื่องง่ายๆ ถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่เราเคยเรียนกันมา
นั่นคือ เศรษฐกิจระดับมหัพภาค จุลภาค
เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างเข้าใจง่าย อย่างเช่น
ในประเทศมีร้านมินิมารทอยู่มากมาย ถ้าร้านหนึ่งเกิดขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
ก็คิดว่าคงจะไม่ทำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศดีไปด้วยได้
แต่ถ้าร้านค้าขายดีหลายๆ ร้าน แน่นอน ประเทศก็จะมีเศรษฐกิจที่ดีตามไป

นั่นคือ

ร้านค้า >>> จุลภาค
ประเทศ >>> มหัพภาค
ผลกระทบทางจุลภาค เมื่อมีมากๆ จะทำให้มหัพภาคเกิดการเปลี่ยนแปลง

หลังจากเราคุยถึงตรงนี้ก็ทำให้รู้สึกว่า จุลภาค มหัพภาค จะมีจุดเชื่อมมันอยู่
ซึ่งจุดนั้นแหละที่จะทำให้เรื่องมันต่างไป และทำให้ทุกคนเริ่มหาประเด็นกันได้

ผมได้สนใจในตัวอย่างที่เดาพูดขึ้นมา เรื่อง Butterfly Effect
ที่มีพูดถึงว่า ถ้าผีเสื้อหนึ่งตัวกระพือปีก อาจจะทำให้เกิดพายุหมุนได้ในที่ไกลๆ
มันเป็นเรื่องที่บอกได้ว่าเป็นเรื่องของ ไมโคร และแม็คโครเช่นกัน

และทำให้เกิดสงสัยในประเด็นเดียวกับโม่ ในเรื่องของขอบเขต
ว่าการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน ของโมโคร ถึงจะทำให้แม็คโคร
เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือแค่ไหนที่ไม่เกิด
ซึ่งจริงๆ แม้จะเพียงนิดเดียวถ้ามันเกิดการเปลี่ยนแปลงไป
ในด้านของ Visual อาจจะรับรู้ไม่ได้ แต่เรื่องมันก็ต่างเปลี่ยนไปแล้ว

จากทั้งหมดนี้ก็คิดว่าตัวเองเริ่มมีเรื่องที่จับได้ และเริ่มนึกไปถึงว่าตัวเอง
จะเอาเรื่องเรื่องอะไรมาครอบเพื่อให้เข้าใจใน เรื่องที่ผมคิดได้และต้องการจะบอก
รวมไปถึงการออกแบบในทางภาพด้วย



ต้องขอบคุณเพื่อนๆทั้งหลาย ที่ร่วมกันถกเถียงเรื่องนี้
จนได้ประเด็นที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
(คุยกันเล่นๆว่า คนที่ฟังเราคุยกันจะรู้มั้ยว่าเราเรียนศิลปกรรม
เพราะเรื่องที่คุยมันโดดไปโดดมา หลายเรื่อง ซึ่งเห็นปฏิกริยาคนรอบๆแล้ว
ก็สนุกดี)

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

Invader (อาจจะเก่าไปสำหรับบางคนนะครับ)

Invader หรือ Space Invader
คืองานศิลปะโมเสค ที่ทำเป็นตัว Invader
ในเกมยุค Famicom Console (น่าจะได้อิทธิพลมาจากนี่แหละ)
เป็นศิลปะแบบ Street Art คือติดอยู่ตามท้องถนน
บนล่างซ้ายขวา พี่แกติดได้หมด

พอดีมีโอกาสต้องทำแมกกาซีนสำหรับคนเดินอ่าน
(พิมไม่ผิดนะครับ สำหรับคนเดินอ่านจริงๆ)
เลยคิดว่านี่เป็นอีกเรื่องที่น่าจะติดตามหาข้อมูล
(แม้เค้าจะมานานแล้ว แต่มันเพิ่งมาสนใจตอนนี้นี่ทำไงได้ ^^)

ซึ่งในกรุงเทพก็มีมาทำไว้แล้วเช่นกัน
ซึ่งมีทำไว้ทั้งหมด 51 ตัว ด้วยกัน
ซึ่งในปัจจุบันมีบางตัวที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
(อย่างที่ติดอยู่ตรงตอม้อสยามดิส ก็โดนแกะออกไปแล้ว)

ซึ่งพอไปเดินหาดูก็รู้สึกว่ามันเป็นงานที่ได้คอนเซ็ปท์
ดีจริงๆ (ผู้บุกรุกมาบุกกรุงเทพแล้วจ้า ประมาณนี้)
ซึ่งเป็นงานที่ทำเป็นเครือข่ายรอบโลกแล้วนี่
มันจึงยิ่งกลายเป็นงานที่น่าชื่นชม

ซึ่งก็นำข้อมูลมาลงไว้เผื่อยังมีคนที่ไม่รู้ และคนที่สนใจมาดูกัน

เลยส่วนเรื่องที่ว่าคนทำคือใครนั้นลองกดเข้าลิ้งนี้ดูเอาเลยครับ
มีข้อมูลอยู่
>>>
http://www.laweekly.com/art+books/art/our-space-invader/576/

หรือถ้าใครสนใจอยากดูว่านอกจากที่ทำไว้ที่กรุงเทพแล้วมีที่อื่นไหมก็นี่ครับ
>>>
http://www.space-invaders.com



เหมือนมันจะแอบดูเราตลอดเวลาเลยนะ ^^

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

บันทึกโครงการ (หว่านเมล็ด)

หลังจากได้ถังขยะมาแล้ว
ก็นำไปวางไว้ที่ต่างๆ ซึ่งได้กำหนดสถานที่วางขั้นแรกก่อนว่า
ควรเป็นบริเวณร้านค้าที่มีการทิ้งขยะ
เพราะน่าจะช่วยให้ได้ผลสำรวจเร็วขึ้น
(ซึ่งก็ไม่ค่อยจะเร็วขึ้นเลย - -")

และก็มีไปวางในที่ไม่มีร้านค้า เป็นทางเดินทั่วไปด้วย
พร้อมกับคอยไปรีถังขยะ เมื่อมันเต็ม


หลังจากผ่านการรอ(เงก) ก็ได้ผลการทดสอบแรกมา
ซึ่งเอาที่น่าพูดมาดูกันก่อน

อันนี้โดนย้ายที่ (นึกว่าหายซะแล้ว - -")

ส่วนนี่เต็มจนล้น

ส่วนที่เอาไปวางตามที่ที่ไม่ใช่ร้านค้า (พวกทางเดิน ตู้โทรศัพท์ อื่นๆ)

ก็ยังพอมีทิ้งบ้าง (แต่เทียบกับถังบน ที่เวลาไปถ่ายเท่าๆกัน)

ซึ่งพอดูผลในส่วนนี้ ก็เรียกได้ว่าสำเร็จไปหนึ่งเปราะ
เพราะถังทุกใบยังมีคนทิ้งขยะลงไป เรียกว่า
ผ่านความเป็นถังขยะขั้นแรกไปแล้ว

แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตุ(มั้ง) ว่าสถานที่แต่ละที่ปริมาณการทิ้งไม่เท่ากัน
ซึ่งทำให้ตัวแปรที่คิดและทำมา ค่อนข้างเอามาเป็นจุดสำรวจยาก
อย่างเช่น ถ้าจะดูเรื่องสี ว่าสีไหนเหมาะกับความเป็นถังขยะที่สุด
ก็ต้องสังเกตุโดยควบคุมให้เป็นสถานที่เดิมเท่า
เหมือนตัวแปรอื่นอย่างเรื่องรูปทรง หรือขนาด
โดยเปลี่ยนแค่สีของตัวถังขยะเท่านั้น

ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา ในการสังเกตุ
เพราะต้องสำรวจถังใบแรกจนได้บันทึกผลพอสมควร จึงเปลี่ยนถังได้

ซึ่งก็ต้องลองในขั้นตอนต่อไปต่อไป

บันทึกโครงการ (ถังขยะ..ถังขยะ..ถังขยะ)

หลังจากรู้แล้วว่าจะเริ่มทำอะไร
ก็ได้วางแผนในการสร้างถังขยะหลายๆชิ้น
เพื่อทดสอบเรื่องความเป็น"โครตถังขยะ"

ซึ่งที่คิดคือต้องควบคุมตัวแปรหลายๆแบบ

เรื่องต่างๆที่จะทดสอบ (ซึ่งตัวแปรพวกนี้
ได้มาจากความทรงจำเท่าที่เคยเห็นถังขยะมา)


วัสดุ - พลาสติก (
ทึบ ,โปร่ง เช่น เป็นตาราง ) ,โลหะ (ทึบ ,โปร่ง เช่นต่อเป็นเส้นๆ) ,ไม้ (เห็นน้อยกว่าสองพวกแรกแต่มีให้เห็นบ้าง) ,ยาง

ขนาด - ใหญ่-เล็ก (ดูจากถังขยะในห้องตัวเอง ที่เพื่อนๆใช้ และตามท้องถนน)

รูปทรง - ทรงกระบอก(ปกติ ,ก้นแคบ) ,สี่เหลี่ยม (ปกติ ,ก้นแคบ) ,หกเหลี่ยม
(ปกติ ,ก้นแคบ)
อื่นๆ

สี - ดำ แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และอื่นๆ


ซึ่งก็ไปหาซื้อของมานั่งทำ

นี่คือถังใบแรก เย้~
นี่ทำแบบเป็นพลาสติกโปร่งก่อน

ลองเทียบขนาดกะถังใบเล็กที่มีในห้อง
(ถังขยะอันที่ทำ มีความสูง ประมาณ12นิ้ว
กว้างประมาณ7.5นิ้ว)


และใบที่ 2...3...4...5 และ 6
ซึ่งลองทำแบบทึบและมีสี

ด้านข้าง~
ทำพลาสติกไปเยอะแล้ว ลองแบบเป็นโลหะบ้าง
นี่คือ"ถังขยะโลหะ"อันแรก

พอได้ถังขยะพอสมควรก็ได้ฤกษ์
นำถังล็อตแรกไปลงสนามจริงแล้ว

จะนำผลและถังที่สร้างเพิ่มมาให้ดูต่อไป

"^^"

บันทึกโครงการ (ได้ฤกษ์)

หลังจากได้สะกิดใจเรื่องความเป็นถังขยะของถังสี
ได้จุดประเด็นในเรื่องของการรับรู้ของคนในการมองถังขยะ

ซึ่งอิงมาจากเรื่องโลกแห่งแบบ ในปรัชญาของ เพลโต
ทำให้มีเรื่องให้เริ่มทำงานโดยการทดลอง
หา"โครตถังขยะ" ถังขยะที่ใครดูก็ต้องบอกว่านี่คือถังขยะ

นี่คือรูปการทดลองแรก ที่ยังไม่ได้วางแผนแน่ชัด

มีถังขยะที่สร้างมาสองชิ้นในการทดลอง

>>ชิ้นแรก(สีดำ) เป็นแผ่นอคริลิค รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านบนมีรูแค่ครึ่งเดียว

>>ชิ้นที่สองเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกทั่วไป

ทั้งสองใบแปะคำว่า"ถังขยะ"แล้วนำไปวางแถวร้านมินิมารททั้งสองชิ้น
เพื่อดูการตอบสนองของคนในความเป็นถังขยะของสองชิ้นนี้

ซึ่งผลที่ปรากฏออกมา มีจุดน่าสนใจ
คือ กล่องสีดำ ที่มีรูแค่ครึ่งเดียว กลับมีคนนำขยะมาทิ้งเมื่อมีเวลาผ่านไป
แต่กล่องกระดาษกลับมีคนทิ้งน้อยกว่า
ทั้งที่เทียบแล้วกล่องนี้น่าจะทิ้งขยะได้ง่ายและจุมากกว่า



อาจเป็นไปได้ว่ากล่องดำอาจวางไว้ในจุดที่เห็นได้ก่อน
และเมื่อมีแปะว่า "ถังขยะ" คนก็ทิ้งขยะโดยไม่สนว่ามันจะใช่ถังขยะ
จริงๆหรือไม่ (หรือเพราะความเห็นแก่ตัวอยากรีบทิ้ง?)

เมื่อทดลองอันนี้แล้ว ก็คิดว่าควรที่จะวางแผนการทดลอง
เพื่อให้รู้เป็นเรื่องๆต่อไป ในความเป็นถังขยะ

บันทึกโครงการ (คลำเส้นทาง)

หลังจากได้เรื่องราวที่สนใจ
ก็ได้ลองทำเป็นงานดูหลายๆแบบ
ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าจะต้องทำออกมาเป็นกราฟฟิค
และเลยเถิดไปถึงคิดจะทำเป็น pictogram เลยทีเดียว

...ก็ลองทำกันไป