หลังจากได้ถังขยะมาแล้ว
ก็นำไปวางไว้ที่ต่างๆ ซึ่งได้กำหนดสถานที่วางขั้นแรกก่อนว่า
ควรเป็นบริเวณร้านค้าที่มีการทิ้งขยะ
เพราะน่าจะช่วยให้ได้ผลสำรวจเร็วขึ้น
(ซึ่งก็ไม่ค่อยจะเร็วขึ้นเลย - -")
และก็มีไปวางในที่ไม่มีร้านค้า เป็นทางเดินทั่วไปด้วย
พร้อมกับคอยไปรีถังขยะ เมื่อมันเต็ม
หลังจากผ่านการรอ(เงก) ก็ได้ผลการทดสอบแรกมา
ซึ่งเอาที่น่าพูดมาดูกันก่อน
อันนี้โดนย้ายที่ (นึกว่าหายซะแล้ว - -")
ส่วนนี่เต็มจนล้น
ส่วนที่เอาไปวางตามที่ที่ไม่ใช่ร้านค้า (พวกทางเดิน ตู้โทรศัพท์ อื่นๆ)
ก็ยังพอมีทิ้งบ้าง (แต่เทียบกับถังบน ที่เวลาไปถ่ายเท่าๆกัน)
ซึ่งพอดูผลในส่วนนี้ ก็เรียกได้ว่าสำเร็จไปหนึ่งเปราะ
เพราะถังทุกใบยังมีคนทิ้งขยะลงไป เรียกว่า
ผ่านความเป็นถังขยะขั้นแรกไปแล้ว
แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตุ(มั้ง) ว่าสถานที่แต่ละที่ปริมาณการทิ้งไม่เท่ากัน
ซึ่งทำให้ตัวแปรที่คิดและทำมา ค่อนข้างเอามาเป็นจุดสำรวจยาก
อย่างเช่น ถ้าจะดูเรื่องสี ว่าสีไหนเหมาะกับความเป็นถังขยะที่สุด
ก็ต้องสังเกตุโดยควบคุมให้เป็นสถานที่เดิมเท่า
เหมือนตัวแปรอื่นอย่างเรื่องรูปทรง หรือขนาด
โดยเปลี่ยนแค่สีของตัวถังขยะเท่านั้น
ซึ่งค่อนข้างเสียเวลา ในการสังเกตุ
เพราะต้องสำรวจถังใบแรกจนได้บันทึกผลพอสมควร จึงเปลี่ยนถังได้
ซึ่งก็ต้องลองในขั้นตอนต่อไปต่อไป
วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551
บันทึกโครงการ (ถังขยะ..ถังขยะ..ถังขยะ)
หลังจากรู้แล้วว่าจะเริ่มทำอะไร
ก็ได้วางแผนในการสร้างถังขยะหลายๆชิ้น
เพื่อทดสอบเรื่องความเป็น"โครตถังขยะ"
ซึ่งที่คิดคือต้องควบคุมตัวแปรหลายๆแบบ
เรื่องต่างๆที่จะทดสอบ (ซึ่งตัวแปรพวกนี้
ได้มาจากความทรงจำเท่าที่เคยเห็นถังขยะมา)
วัสดุ - พลาสติก ( ทึบ ,โปร่ง เช่น เป็นตาราง ) ,โลหะ (ทึบ ,โปร่ง เช่นต่อเป็นเส้นๆ) ,ไม้ (เห็นน้อยกว่าสองพวกแรกแต่มีให้เห็นบ้าง) ,ยาง
ขนาด - ใหญ่-เล็ก (ดูจากถังขยะในห้องตัวเอง ที่เพื่อนๆใช้ และตามท้องถนน)
รูปทรง - ทรงกระบอก(ปกติ ,ก้นแคบ) ,สี่เหลี่ยม (ปกติ ,ก้นแคบ) ,หกเหลี่ยม(ปกติ ,ก้นแคบ)
อื่นๆ
สี - ดำ แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และอื่นๆ
ซึ่งก็ไปหาซื้อของมานั่งทำ
นี่คือถังใบแรก เย้~
นี่ทำแบบเป็นพลาสติกโปร่งก่อน
ลองเทียบขนาดกะถังใบเล็กที่มีในห้อง
(ถังขยะอันที่ทำ มีความสูง ประมาณ12นิ้ว
กว้างประมาณ7.5นิ้ว)
และใบที่ 2...3...4...5 และ 6
ซึ่งลองทำแบบทึบและมีสี
ด้านข้าง~
ทำพลาสติกไปเยอะแล้ว ลองแบบเป็นโลหะบ้าง
นี่คือ"ถังขยะโลหะ"อันแรก
พอได้ถังขยะพอสมควรก็ได้ฤกษ์
นำถังล็อตแรกไปลงสนามจริงแล้ว
จะนำผลและถังที่สร้างเพิ่มมาให้ดูต่อไป
"^^"
ก็ได้วางแผนในการสร้างถังขยะหลายๆชิ้น
เพื่อทดสอบเรื่องความเป็น"โครตถังขยะ"
ซึ่งที่คิดคือต้องควบคุมตัวแปรหลายๆแบบ
เรื่องต่างๆที่จะทดสอบ (ซึ่งตัวแปรพวกนี้
ได้มาจากความทรงจำเท่าที่เคยเห็นถังขยะมา)
วัสดุ - พลาสติก ( ทึบ ,โปร่ง เช่น เป็นตาราง ) ,โลหะ (ทึบ ,โปร่ง เช่นต่อเป็นเส้นๆ) ,ไม้ (เห็นน้อยกว่าสองพวกแรกแต่มีให้เห็นบ้าง) ,ยาง
ขนาด - ใหญ่-เล็ก (ดูจากถังขยะในห้องตัวเอง ที่เพื่อนๆใช้ และตามท้องถนน)
รูปทรง - ทรงกระบอก(ปกติ ,ก้นแคบ) ,สี่เหลี่ยม (ปกติ ,ก้นแคบ) ,หกเหลี่ยม(ปกติ ,ก้นแคบ)
อื่นๆ
สี - ดำ แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และอื่นๆ
ซึ่งก็ไปหาซื้อของมานั่งทำ
นี่คือถังใบแรก เย้~
นี่ทำแบบเป็นพลาสติกโปร่งก่อน
ลองเทียบขนาดกะถังใบเล็กที่มีในห้อง
(ถังขยะอันที่ทำ มีความสูง ประมาณ12นิ้ว
กว้างประมาณ7.5นิ้ว)
และใบที่ 2...3...4...5 และ 6
ซึ่งลองทำแบบทึบและมีสี
ด้านข้าง~
ทำพลาสติกไปเยอะแล้ว ลองแบบเป็นโลหะบ้าง
นี่คือ"ถังขยะโลหะ"อันแรก
พอได้ถังขยะพอสมควรก็ได้ฤกษ์
นำถังล็อตแรกไปลงสนามจริงแล้ว
จะนำผลและถังที่สร้างเพิ่มมาให้ดูต่อไป
"^^"
บันทึกโครงการ (ได้ฤกษ์)
หลังจากได้สะกิดใจเรื่องความเป็นถังขยะของถังสี
ได้จุดประเด็นในเรื่องของการรับรู้ของคนในการมองถังขยะ
ซึ่งอิงมาจากเรื่องโลกแห่งแบบ ในปรัชญาของ เพลโต
ทำให้มีเรื่องให้เริ่มทำงานโดยการทดลอง
หา"โครตถังขยะ" ถังขยะที่ใครดูก็ต้องบอกว่านี่คือถังขยะ
นี่คือรูปการทดลองแรก ที่ยังไม่ได้วางแผนแน่ชัด
มีถังขยะที่สร้างมาสองชิ้นในการทดลอง
>>ชิ้นแรก(สีดำ) เป็นแผ่นอคริลิค รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านบนมีรูแค่ครึ่งเดียว
>>ชิ้นที่สองเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกทั่วไป
ทั้งสองใบแปะคำว่า"ถังขยะ"แล้วนำไปวางแถวร้านมินิมารททั้งสองชิ้น
เพื่อดูการตอบสนองของคนในความเป็นถังขยะของสองชิ้นนี้
ซึ่งผลที่ปรากฏออกมา มีจุดน่าสนใจ
คือ กล่องสีดำ ที่มีรูแค่ครึ่งเดียว กลับมีคนนำขยะมาทิ้งเมื่อมีเวลาผ่านไป
แต่กล่องกระดาษกลับมีคนทิ้งน้อยกว่า
ทั้งที่เทียบแล้วกล่องนี้น่าจะทิ้งขยะได้ง่ายและจุมากกว่า
อาจเป็นไปได้ว่ากล่องดำอาจวางไว้ในจุดที่เห็นได้ก่อน
และเมื่อมีแปะว่า "ถังขยะ" คนก็ทิ้งขยะโดยไม่สนว่ามันจะใช่ถังขยะ
จริงๆหรือไม่ (หรือเพราะความเห็นแก่ตัวอยากรีบทิ้ง?)
เมื่อทดลองอันนี้แล้ว ก็คิดว่าควรที่จะวางแผนการทดลอง
เพื่อให้รู้เป็นเรื่องๆต่อไป ในความเป็นถังขยะ
ได้จุดประเด็นในเรื่องของการรับรู้ของคนในการมองถังขยะ
ซึ่งอิงมาจากเรื่องโลกแห่งแบบ ในปรัชญาของ เพลโต
ทำให้มีเรื่องให้เริ่มทำงานโดยการทดลอง
หา"โครตถังขยะ" ถังขยะที่ใครดูก็ต้องบอกว่านี่คือถังขยะ
นี่คือรูปการทดลองแรก ที่ยังไม่ได้วางแผนแน่ชัด
มีถังขยะที่สร้างมาสองชิ้นในการทดลอง
>>ชิ้นแรก(สีดำ) เป็นแผ่นอคริลิค รูปทรงสี่เหลี่ยม ด้านบนมีรูแค่ครึ่งเดียว
>>ชิ้นที่สองเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกทั่วไป
ทั้งสองใบแปะคำว่า"ถังขยะ"แล้วนำไปวางแถวร้านมินิมารททั้งสองชิ้น
เพื่อดูการตอบสนองของคนในความเป็นถังขยะของสองชิ้นนี้
ซึ่งผลที่ปรากฏออกมา มีจุดน่าสนใจ
คือ กล่องสีดำ ที่มีรูแค่ครึ่งเดียว กลับมีคนนำขยะมาทิ้งเมื่อมีเวลาผ่านไป
แต่กล่องกระดาษกลับมีคนทิ้งน้อยกว่า
ทั้งที่เทียบแล้วกล่องนี้น่าจะทิ้งขยะได้ง่ายและจุมากกว่า
อาจเป็นไปได้ว่ากล่องดำอาจวางไว้ในจุดที่เห็นได้ก่อน
และเมื่อมีแปะว่า "ถังขยะ" คนก็ทิ้งขยะโดยไม่สนว่ามันจะใช่ถังขยะ
จริงๆหรือไม่ (หรือเพราะความเห็นแก่ตัวอยากรีบทิ้ง?)
เมื่อทดลองอันนี้แล้ว ก็คิดว่าควรที่จะวางแผนการทดลอง
เพื่อให้รู้เป็นเรื่องๆต่อไป ในความเป็นถังขยะ
บันทึกโครงการ (คลำเส้นทาง)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)