วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การสัมนาการออกแบบ (อย่างไม่เป็นทางการ)

ยามดึกของคืนหนึ่ง หลังจากที่ได้ตระหนักกันถึงหัวข้อ
การสัมนา ที่จะจัดขึ้นในอีก 1 อาทิตย์

หลังจากที่ได้เปิดประเด็นทาง MSN อย่างง่ายๆ
ด้วยการดึงเอาคนในชั้นเรียนมาคุย แสดงความคิดเห็น

ซึ่งมันก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นที่คนเดียวทำไม่ได้
แต่ละคนมีความคิดเห็นต่างกัน

ผมว่ามันสนุกดี ที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นบางอย่าง
การทำแบบนี้ช่วยเพิ่มประสบการณ์ ทางความคิด
แบบไม่ต้องไปแสวงหาเองจากที่อื่น

มันน่าจะเกิดขึ้นอีกหลายๆครั้ง ถ้าเป็นไปได้

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Context

หลังจากที่ได้ศึกษาในเรื่องของ Postmodern Graphic Design
ก็ได้รู้สึกว่าตนเองได้มีความสนใจในการคิดแบบโพสโมเดรินซะแล้ว
บริบท ภาษาอังกฤษว่า" context"
ถ้าหากให้เราแปลคำคำนี้ตามเซนส์ของคำและการใช้ เราก็บอกได้ว่า "บริบท"
นั้นแปลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง"

บริบทก็คือปัจจัยโดยรอบ คืออะไรก็ตามที่อยู่รอบ ๆ และส่งผลต่อสิ่งหนึ่ง
ทำให้สามารถเห็นได้ว่าสิ่งสิ่งนั้นไม่ได้ตัดขาดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่แวดล้อมมันอยู่
ทำให้เห็นความเกี่ยวโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง และอาจจะส่งผลไปยังอีกสิ่งหนึ่ง
ยกตัวอย่างการคิดง่ายๆ

สมมติ ว่า มีแก้วใบหนึ่งตั้วอยู่ หน้าที่และความเป็นแก้วโดยทั่วไป คือการใส่น้ำ ไว้กิน
นั่นคือการมองแบบเราเรา
ถ้าเป็นเด็กมองล่ะ? เค้าอาจจะบอกว่านี่ไม่ใช่แก้วน้ำ แต่เป็นของเล่นก็ได้

ถ้าศิลปิน อาจกลายเป็นงานศิลปะ?

นั่นคือ การจะมองหรือดูของชิ้นหนึ่ง แล้วบอกว่าสิ่งๆนั้นคืออะไร มันอาจไม่ถูกต้องเสมอไป

การมองสิ่งๆหนึ่งโดยการมองจากสภาวะโดยรอบต่างหาก ไม่ว่าจะเป็น ที่ๆสิ่งนั้นอยู่
คนที่มอง และอีกหลายอย่าง จะทำให้เราสามารถระบุสิ่งๆหนึ่งได้ชัดเจนมากกว่ามองจากความเข้าใจ
ของเราเพียงด้านเดียว

ซึ่งถ้าเอาจุดนี้มาโยงกับการออกแบบ มันจะช่วยให้เราเกิดมุมมองใหม่ ที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

มีศัพท์คำหนึ่งในยุค Postmodern ที่เรียกว่า "Subvert"

Subvert หมายถึง การเอาของที่มีหน้าที่อย่างหนึ่ง มาใช้ในแบบที่ผิดหน้าที่ของมัน
แต่ก่อให้เกิดความหมายใหม่ หรือแทนความหมายบางอย่าง เช่น การนำเอาแผ่นดิสที่เสียแล้ว
มาใช้แทนนาฬิกา หรือ แผ่นรองแก้ว
อย่างชิ้นนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆที่จะแสดงให้เห็นถึงงานออกแบบที่เรียกว่า Subvert
การใช้ "D" พลิกด้านได้ก่อให้เกิดการแทนความหมายของ "Smile" หรือรอยยิ้ม

ซึ่งเราเข้าใจได้ว่ามันคือรอยยิ้ม ไม่ใช่นักออกแบบวางตัวอักษรผิดได้ยังไง?

นั่นคือ เมื่อเราอ่านชื่อเรื่อง ที่มีคำว่ารอยยิ้ม เราก็จะสามารถเข้าใจความหมายของ
ตัว "D" พลิกด้านได้ทันที ว่านี่แทนภาพรอยยิ้ม (บางคนอาจจะมองไม่เหมือนกัน ตาการใช้ชีวิต)

นั่นคือการมอง แบบ Context

ซึ่งผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ถ้าจะนำเอาความคิดมาทำงานออกแบบเชิงทดลองซักหนึ่งชิ้น
โดยการทดลองความเข้าใจ และการรับรู้ ของสิ่งหนึ่ง ในหลายๆสถานการณ์ ของคนที่ชมผลงาน

แต่ตอนนี้ยังคิดได้ไม่จบ ว่าสรุปแล้วมันควรจะเป็นงานแบบไปไหน หรืออย่างไร

ซึ่งถ้ามีอะไรคืบหน้า ผมจะนำมาเสนอเพิ่มเติมนะครับ(ตอนนี้หัวยังตันอยู่ ^^)
หรือมีอะไรแนะนำก็ช่วย Comment กันมาได้ครับ





ขอบคุณ

Survey of Art Week 2

อันนี้เป็นสมุดสเก็ต ที่ผมไปซื้อมาจาก B2S
ซึ่งผมว่ามันเจ๋งดี คือมันน่าหยิบ น่าซื้อ (แล้วก็ซื้อมาแล้วด้วย)


























































คือมาคิดดูแล้วโปรดัก ส่วนใหญ่ มักจะแข่งขันกันที่ ดีไซน์
ใครทำดูดีกว่า น่าหยิบกว่า ก็จะขายได้
คือบางทีการใช้แต่การตลาดอย่างเดียว ผมว่ามันก็ทำให้ของบางอย่าง
ขายได้ดีเท่าที่ควรหรอก มันน่าจะต้องมีการออกแบบควบคู่ไปด้วย

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสินค้าที่ดูมีลูกเล่น จนชักชวนให้ผมซื้อมัน
แม้จะแพงซักนิด (160 บาท) แต่ผมว่ามันก็โอเคกับราคานะ

Survey of Art Week 1

หลังจากที่มีเวลาว่างไปดูงานโฆษณาที่งาน ADC นำมาแสดงที่
แกลอรี่ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็รู้สึกว่างานออกแบบโฆษณา
ก็เป็นงานที่สนใจเลยทีเดียว และมีหลายงานที่ผมชอบ





















เป็นงานโฆษณาขององค์กรช่วยเหลือเด็ก(หรืออะไรซักอย่าง)
โดยมี copy ประมาณว่า "มันไม่ได้เกิดที่นี่ แต่มันเกิดขึ้นแล้วในตอนนี้"
ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่ามันมีลูกเล่นดีโดยทำเหมือนเป็นภาพ
สถานที่จริงมองไกลๆอาจจะนึกว่าของจริงก็ได้

เป็น print ad ที่น่าสนใจอันหนึ่งเลย

นอกจากนี้ยังมีงานอีกหลายชิ้นที่น่าสนใจ ถ้ามีเวลาก็ลองไปดูกันนะ
ที่หอสมุด สุรัตน์ ชั้น 2 ห้องแสดงงาน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต