วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Graphic on Enviropment

การพวกเราที่นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในวงการออกแบบแล้ว
การออกไปเดินดูพวกกราฟิก ตามห้างที่ดูมีรสนิยม อย่าง พารากอน
นับว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก เพราะการที่ได้ดู สัมผัส และซึมซับ
พวกกราฟิกทั้งกลาย ทีี่มีอยู่ทั่วไปในห้างดังๆ หรือตามร้านค้า แบรนด์เนม นั้น
มันจะทำให้เราได้จดจำงานที่ผ่านกระบวนการคิด จากนักออกแบบมาแล้ว
มันจะช่วยเราได้ดีในการแก้ปัญหา โดยหยิบยืมเอารูปแบบหรือแนวคิดที่สัมผัสได้
มาเป็นกรณีตัวอย่าง ในการทดลองออกแบบ


หลังจากคุยเรื่องนี้กับฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา เพื่อนที่ไปเดินด้วยกัน
ก็เกิดสงสัยว่าแล้วการที่เรามาเดินดูงานพวกนี้
มันต่างจากการที่เราดูงานในหนังสือยังไง?

เมื่อมาคิดและคุยกันแล้วก็ได้ความคิดเห็นว่า

อย่างแรกที่ต่างจากการดูหนังสือคือ เรื่องของสัมผัสของวัสดุที่ใช้จริง
และมิติที่ต่างกันของวัสดุแต่ละประเภท

การเลือกใช้วัสดุ (materials) ในงานออกแบบ จำเป็นที่จะต้องเลือก
ให้เข้ากับลักษณะงาน เพื่อให้ได้้งานที่ดี เพราะฉะนั้นการที่เราได้สัมผัส
materials พวกนี้จากงานคนอื่น น่าจะได้ประโยชน์จากจดจำและนำไปใช้
เมื่อเรารู้ลักษณะของวัสดุจริงแล้วย่อมช่วยให้เราออกแบบได้ง่ายขึ้น


อย่างที่สอง คือเรื่องของ "ขนาด" งานกราฟิก หรือพวกงานสิ่งพิมพ์
ใหญ่ มันจะส่งผลต่อการออกแบบแน่นอน ยิ่งงานมีขนาดใหญ่
นักออกแบบย่อมมีพื้นที่ให้เล่นมากขึ้น แต่หมายความว่าเราจะคุมยากขึ้นด้วย
การได้ดูงานพวกนี้น่าจะช่วยเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาในภายหลังได้


นอกจากนี้น่าจะมีเรื่องสีที่ใช้มื่อถูกแสงของตัวห้างมีผลต่อการออกแบบ
และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของงานที่ถูกติดตั้งและ้วในสถานที่จริง
มันน่าที่จะเป็นตัวอย่างที่ดี ในการแก้ปัญหาในงานออกแบบ


ฉัตรณรงค์ กล่าวว่า มีอาจารท่านหนึ่งเคยบอกว่า การที่เราจะต้องมาเดินดูนู่นดูนี่
สำหรับนักออกแบบแล้ว มันถือเป็นการ "ฝึกสัญชาติญาณในการออกแบบ"
เราต้องฝึกสังเกต เพราะการเดินดูงานพวกนี้มันช่วยเราได้จริงๆในการออกแบบ
ซึ่งเราไม่ใช่ช่างที่เพียงแต่ต้องมีความชำนาญในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
แต่เราจำเป็นต้องความคิดสร้างสรรค์ด้วย ดังนั้น การที่เราจะเดินเที่ยวดูนู่น
ดูนี่จะเป็นการช่วยให้เราได้รับอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ ผมว่านั่นคือ
สิ่งที่จะทำให้งานเราดูน่าสนใจ เพียงแค่รู้จักดูสิ่งต่างๆรอบตัว



"ยิ่งดูเยอะยิ่งเก่งเร็ว"



ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่ออย่างนั้นนะ




ภาพ : SiamParagon,Central World

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Postmodern Graphic Design

หลังจากได้ศึกษาและค้นคว้า นับได้ว่ายุคสมัยที่เรียกกันว่า Postmodern
ได้เป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบและวิวัฒนาการที่สำคัญในวงการ Graphic Design
เลยทีเดียว

Post-Modern มีความหมายตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "ยุคหลังสมัยใหม่"
ซึ่งมาจากคำว่า Posteriority (สภาวะภายหลัง) มารวมกับคำว่า Modern (ใหม่) นั่นเอง

Postmodern เป็นยุคสมัยที่มีช่วงเวลาเริ่มต้นอยู่ในปี คริสตศักราช 1960
นั่นคือเป็นยุคที่เริ่มต้นหลัง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งเป็นยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือนักออกแบบกราฟิก
มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยให้สิ่งที่ทำได้ยาก สามารถทำได้ง่ายขึ้น

แต่ในทางวัฒนธรรมและสังคมในสมัย Postmodern แทนที่จะเป็นยุคสมัยที่มีี่พัฒนาการ
มาจากสมัย Modern กลับกลายเป็น ยุคสมัยแห่งการต่อต้านและทำลาย
รูปแบบยุคสมัยก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง ซึ่งทั้งหลายที่กล่าวมาล้วนมีอิทธิพล
ต่อวงการออกแบบกราฟิกเช่นกัน

ในยุคนี้ งานออกแบบมักจะออกไปในรูปแบบของการนำเอาลักษณะเก่าๆ หรือรูปแบบต่างๆ
มาปะติดปะต่อกัน จนเกิดเป็นงานใหมที่ดูแปลกตา่ อย่างเช่น การผสมรูปแบบตัวอักษร
ระหว่าง Serif (ส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวอักษร) และ Sans Serif (ตัวอักษรที่ไม่มีส่วนยื่น)
จนกลายเป็น Semi Serif เป็นต้น

เรียกง่ายๆว่าเป็นรูปแบบที่มีลักษณะครึ่งๆ กลางๆ ทำให้ดูแปลกตาและน่าสนใจไปจากปกติ
ลักษณะงานแบบนี้มีศัพท์เฉพาะในการออกแบบว่า "Pastiche"

ซึ่งงานออกแบบส่วนใหญ่ในยุคนี้มักจะเป็นงานประเภทนี้

นอกจากนี้ยังมีงานออกแบบที่เรียกว่า "Kitsch"
ซึ่งมีความหมายว่า การออกแบบที่เกินพอดี หรือ ไม่มีความพอดี (Over Design)
ซึ่งรูปแบบนี้มีน่าจะมีที่มาจากความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งก่อให้เกิดจินตนาการแบบเกินจริง งานออกแบบในลักษณะนี้
ได้กลายเป็นแรงบัลดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน

นักออกแบบที่นับเป็นแนวหน้าทางความคิดในยุคนี้อย่าง Emigre (เอมิเกร)
ที่ให้ความสำคัญแก่ Typography (การจัดการตัวอักษร) ในยุค 80-90
ได้เริ่มพัฒนาการออกแบบตัวอักษร ที่เรียกว่า "Cutting-edge Typeface" ขึ้น
และนั่นเป็นเหมือนกับสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพของ Typeface Designer
ในสมัยนั้นและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีโดยทั่วไป

Emigre มีส่วนทำให้ ยุค Postmodern เป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฟื่องฟูของ Digital Font
มีตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายและแปลกตาเพิ่มขึ้นมากมาย
ให้นักออกแบบได้ใช้กัน

Ray-gun ที่ออกแบบโดย David Carson
เป็นนิตยสารที่มีชื่อเสียงมากในวงการออกแบบในยุคนี้
Ray-gun เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของยุคสมัยได้อย่างชัดเจน
การทำลายรูปแบบเดิมๆ อย่างระบบ Grid (ตาราง) หรือที่เรียกว่า Breaking the Grid
ก็ได้มีเกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้ นับว่าเป็นการจงใจที่จะต่อต้านรูปแบบเดิมๆ
ซึ่งมันก็นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น



ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะเอามาลงให้อีกนะครับ ตอนนี้กำลังค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่




อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design

เรียบเรียง โดย พงศธร ตั้งสะสม

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ฺB2S Clear Sale!!

วันที่ ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต มีงานที่ B2S นำหนังสือลดราคามาขาย

เรากับเพื่อนๆจึงไปดูกัน ด้วยหวังว่าจะได้หนังสือออกแบบดีดี

หลังจากค้นอยู่นาน

ก็ได้หนังสือออกแบบมาคนละเล่มสองเล่มในราคา สุดถูก!!
หนังสือที่ได้มาคือ

Design rules for Letterheads ของ Roger Walton
ในราคา 2oo บาท!! ถูกมากๆ

แต่นับว่าการจะหาหนังสือได้ซักเล่มมันยากมาก
เพราะหนังสือออกแบบมีมาวางขายน้อยมาก เรียกว่า
ตาดีได้ ตาร้ายเสีย คือถ้าโชคดีหาเจอ ก็ดีไป

ถ้าเพื่อนๆว่าง ก็ลองไปดูกันนะ เค้าเปิดกันถึงวันที่ 5 พ.ย. อาจจะได้หนังสือมาอ่านกันในราคาถูก