วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เหยื่อ!! ของงานออกแบบ

มีหัวข้อสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนที่คิดมันน่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดหลังจากผมและเพื่อนออกไปเดินเที่ยวที่ฟิวเจอร์ปารค

หลังจากที่เราเดินไปหาสิ่งของจำเป็นในการทำงานจนเริ่มคอแห้ง
ก็เหลือบไปเห็นร้านๆหนึ่งสะดุดตา นั่นคือร้าขายน้ำแข็งใสที่ชื่อว่า
"Ice Monster" ซึ่งเป็นร้านที่พวกผมไม่เคยเห็นกันมาก่อน
แต่ด้วยความแก่กล้าวิชา หลังจากเรียนเรื่อง Coperate Identity
มาหมาดๆ ผมและเพื่อนๆจึงได้คุยกันเเละเห็นพ้องว่า Ice Monster
เป็นร้านที่มีลักษณะน่าสนใจและต้องผ่านการดีไซน์มาแน่นอน


ด้วยความกระหายรวมกับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อการออกแบบของร้าน
"เน็ท" เพื่อนผม จึงได้ตัดสินใจดับกระหายด้วยสินค้าร้านนี้

หลังจากเลือกเมนูที่ดูน่ากินบนป้ายเมนูที่ดูสวยงามอยู่สักพัก จึงสั่งมากิน

สิ่งที่เราพบกลับเป็น "น้ำแข็งใสรถเข็นที่มีผลไม้โปะหน้า"
ในราคา 50 กว่าบาท แถมให้น้อยอีกต่างหาก

โอ้แม่จ้าว!?

หลังจากกินแล้วเราได้พบว่านี่มันไม่ได้ต่างไปจาก น้ำแข็งใสที่มีขายทั่วไป
ตามท้องถนนเลยซักนิด ต่างเพียงนี่มีผลไม้แถมให้ด้วยเท่านั้น!!

หลังจากตัดพ้อกันว่า ทำไมกูต้องมาเสียเงินแพงๆให้กับของแบบนี้?

เพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า "เรามันเป็นเหยื่อของงานดีไซน์เข้าแล้ว"

จากของที่ไม่ได้มีรสชาติีอะไรแตกต่างทำไมถึงขายได้?

เราจึงเริ่มมาถกเถียงกันว่าเหตุผลที่เราเลือกซื้อตอนแรกมันคืออะไร?

มันคือความน่าสนใจโดยภาพรวมของร้านและ
ความสวยงามของ Packaging

นั่นหมายความว่าผลของการออกแบบที่ดี
กลับกลายเป็นการทำลายผู้บริโภคอย่างเราใช่มั้ย?

ถ้าลองมาคิดกันดูแล้วกรณีแบบนี้ก็มีเกิดขึ้นมาก่อนในชีวิตผม
ครั้งหนึ่งผมเคยเลือกที่จะกินขนมจากร้านข้างโรงเรียนที่มีดีไซน์สวยงาม
มากกว่าขนมจากร้านแถวบ้านที่แม่บอกว่าอร่อยนักหนา

ทั้งๆที่รสชาติร้านแถวบ้านมันก็อร่อยกว่าจริงๆ?

แต่ผมกลับรูสึกว่าการที่เราได้กินขนมพร้อมถือกล่องสวยๆ มันเจ๋งกว่า
กินขนมที่ไม่มียี่ห้อตั้งเยอะ แม้จะไม่อร่อยมากนักแต่ก็พอกินได้ก็ไม่ขัดแล้ว

เหตุการณ์แบบนี้เคยเจอกันรึเปล่าครับ?

ซึ่งเมื่อก่อนก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอมีเจอเหตุการณ์ของเพื่อนครั้งนี้
มันทำำให้ฉุกคิดได้ว่า งานออกแบบ มันมีผลต่อชีวิตประจำวันของเราเหลือเกิน

มีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆ เมื่อวันที่ไปทำงานศึกษา
สภาพแวดล้อมกับการออกแบบที่ Paragon กับ ฟานเชสโก้ และ เน็ท
เนื่องจากความเหนื่อยจากการเดินทาง ขากลับเราจึงเลือก
ที่จะกลับรถไฟฟ้า พอซื้อบัตรแล้วก็รีบขึ้นไปรอรถทันทีเพราะได้ยินเสียงรถ
หลังจากที่ผม กับ เน็ท ได้เข้ารถกันอย่างเฉียดฉิวก็ได้นั่งรถและพูดคุย
ถึงเรื่องที่ได้เจอมาทั้งวันอย่างสนุกสนานและออกรส แต่พอเวลาผ่านไป
ก็ได้ดูป้ายของสถานีที่อยู่ด้านในรถว่าถึงจุดหมายรึยัง ปรากฏว่า...

เรานั่งผิดทาง!! แถมนั้งมาเกือบสุดสายแล้วอีกต่างหาก

จริงอยู่ที่เราอาจจะสะเพร่าไม่ดูให้ดี แต่ทำไมมันไม่ทำป้ายบอกว่าจะทางไหน
อยู่ในรถไฟฟ้าด้วยวะ? เพราะถ้ามีเราคงจะรู้ตัวกันไปตั้งแต่ปีมะโว้แล้วว


ถึงแม้มันจะเป็นจุดเล็กๆน้อยๆ แต่ผมเชื่อเลยว่าจะต้องมีคนที่เคยประสบปัญหา
แบบพวกผมแน่ๆ

นี่เป็นความผิดเกี่ยวกับการออกแบบใช่หรือไม่? มันอาจจะเป็นความรู้สึกส่วนตัว
แต่ก็ทำให้คิดได้ว่า การออกแบบที่จัดการข้อมูลได้ไม่ดี
ก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ซึ่งมันก็สนับสนุนเนื้อหาข้างต้น

การออกแบบและการจัดการข้อมูล อาจสามารถบิดเบือนคุณค่าแท้จริงของสินค้า
ไป แต่ส่วนใหญ่มันกลับเป็นสิ่งที่เราเลือกจะยอมรับมันซะอีกด้วยซ้ำ

นั่นแสดงให้เห็นว่าเราเลือกความสำคัญของภาพพจน์ที่ใช้ของที่ดูดี
ถ้าสินค้าไม่ได้เลวร้ายจนเกินไป ก็พร้อมจะจ่ายเงินในราคาแพง
กว่าคุณค่าจริงๆของมัน ที่อาจจะไม่ได้ดีเด่อะไร

นั่นแปลว่าเราหลายๆคนต่างเป็น "เหยื่อ" ของงานออกแบบไปโดยไม่รู้ตัว


คุณคิดแบบนั้นมั้ยครับ?







ขอขอบคุณ
- คุณ ฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา ที่ร่วมกันในการถกปัญหา
- คุณ วริท ไชยกูล (ฟานเชสโก้) ที่ไปเดินด้วยกันที่พารากอน แม้ทีหลังจะแยกตัวไปหาความสุขคนเดียว
- อาจาร วี วีรพร สำหรับแนวคิดเรื่องเหยื่อของการออกแบบที่บอกผ่านฉัตรณรงค์มาอีกที

1 ความคิดเห็น:

//Chatnarong Jingsuphatada// กล่าวว่า...

ไม่ทุกคนหรอก บางคนก็ไม่เป้นเหยื่อ ดูอย่างป้าข้างถนนที่ไม่มีเงินสิ แกคงเลือกที่ราคาก่อนการออกแบบแหละ