วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Postmodern Graphic Design II

หลังจากได้หาข้อมูลของ กราฟิกในยุค Postmodern มาเพิ่มเติม
ก็เห็นว่า ข้อมูลของคราวที่แล้วยังมีบางส่วนไม่ชัดเจน
จึงขอโอกาสเรียบเรียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ข้อความเหล่านี้มีความคิดเห็นส่วนตัวอยู่ด้วย โปรดใช้วิจารณญาณ

_________________________________________

Postmodern Graphic Design นับได้ว่าเป็นยุคที่ให้ความสำคัญ
กับเรื่อง เสรีภาพ และความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล
ดีไซเนอร์จึงมีอิสระที่จะนำเอาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ หรือภาษาที่ใช้
มาผสมให้เกิดเป็นงานใหม่ๆ และเริ่มกลายเป็นการออกแบบเชิงทดลอง

ซึ่งจะมีความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนกับงานออกแบบในยุค Modern
ที่มักจะเป็นการออกแบบตามหลักทฤษฎี และเหตุผล
จนมีหลายแห่งให้คำจำกัดความยุค Postmodern ว่าเป็นยุคที่ต่อต้าน
และปฏิเสธยุค Modern อย่างมาก

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับยุค Modern กันก่อน
งานออกแบบในยุค Modern มักจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน
ซึ่งอิงกับทฤษฎี และกฎเกณฑ์ อย่างเช่นรูปแบบ International Style
หรือ Swiss Style ที่มีรูปแบบเรียบง่าย ผสมผสานระหว่าง
Typography และ Geometric Form ดูสะอาดตา
ตัวอย่างนักออกแบบในยุคนี้ เช่น josep muller brockman

ในยุค Modern ที่เพิ่งเริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
งานออกแบบจึงค่อนข้างถูกอิทธิพลของการคิดแบบเหตุ และ ผล
มาเกี่ยวข้อง งานในยุคนี้จึงค่อนข้างยึดกฎเกณฑ์และทฤษฎี
ตามสภาวะของสังคม

แต่เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เริ่มมีการออกแบบเชิงพานิชมากขึ้น
พร้อมกับสภาพสังคมที่เริ่มมีความแตกต่างของรสนิยมมากยิ่งขึ้น
นักออกแบบในยุคนี้จึงต้องปรับตัวและออกแบบเพื่อตอบรับความต้องการ
ที่หลากหลาย เปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าต้องการออกแบบโปสเตอร์ เพลงร็อค
การใช้รูปแบบ เรียบง่ายแบบ Modern คงไม่ดีแน่

ในยุคสมัยนี้ผู้คนอาจจะมองว่า โมเดิร์นลิซึ่มเป็นสิ่งที่สวยงามในเชิงบวก
แต่โพสต์โมเดรินเป็นในทางเชิงลบ เพราะยุคนี้เป็นยุคของการที่แหกกฏเกณฑ์
ในการออกแบบ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่มี grid
โดยได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัว
การทำแบบนี้น่าจะเกิดจากการแข่งขันในเชิงพานิชซึ่งต้องใช้รูปแบบแปลกตา
จะช่วยสร้างความประทับใจแก่ผู้ดูได้อีกระดับหนึ่ง

แต่ผมคิดว่างานในยุค Postmodern ถ้าไม่ดูแย่ ก็จะดูดีไปเลย

แต่ใช่่ว่างานในยุค Postmodern จะแหกกฎไปซะหมด
ซึ่งจริงๆและ้วก็ยังมีนักออกแบบรุ่นเก่าที่ยังยึดรูปแบบเดิมอยู่
ซึ่งนักออกแบบในสวิส และอังกฤษ จะไม่ค่อยสน Postmodern
ซักเท่าไหร่ งานที่เป็น Postmodern ส่วนมากจะอยู่ที่อเมริกา
ซึ่งให้ความสำคัญมากกว่า ศิลปินที่เด่นชัดก็เช่น David Carson

อีกสาเหตุหนึ่งที่เอื้อหนุนให้นักออกแบบสามารถออกแบบเชิงทดลอง
ได้มากขึ้น คือเรื่องของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
การมีคอมพิวเตอร และระบบการพิมพ์์ใหม่ๆ
ก็ช่วยให้นักออกแบบสามารถทำอะไรได้มากขึ้น

งานออกแบบในปลายศตวรรษที่ 20 ค่อนข้างที่จะลดความระห่ำลง
เริ่มมีการผสมผสานรูปแบบทั้งเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
คือ มีการใช้เหตุผลร่วมกับรูปแบบการปะติดปะต่อ จนได้งานที่ลงตัวยิ่งขึ้น
ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่นักออกแบบได้ทดลองอะไรหลายๆอย่าง
จนรูปแบบใหม่ๆค่อนข้างจะลงตัว (และไม่ค่อยมีรูปแบบงานที่ใหม่กว่าเกิดขึ้น)
จึงทำให้งานออกแบบที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ค่อนข้างจะมีวิธีแก้ปัญหามากพอในการออกแบบ

เรียกได้ว่างานกราฟิกในยุค Postmodern ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญ
ในวงการออกแบบในปัจจุบัน



วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ ไว้จะมาลงเพิ่มเติมต่อ






อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design
-No more rule in Postmodern Graphic Design
-A History of Graphic Design , Philip B. Meggs


เรียบเรียง โดย พงศธร ตั้งสะสม

ไม่มีความคิดเห็น: