การพวกเราที่นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในวงการออกแบบแล้ว
การออกไปเดินดูพวกกราฟิก ตามห้างที่ดูมีรสนิยม อย่าง พารากอน
นับว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก เพราะการที่ได้ดู สัมผัส และซึมซับ
พวกกราฟิกทั้งกลาย ทีี่มีอยู่ทั่วไปในห้างดังๆ หรือตามร้านค้า แบรนด์เนม นั้น
มันจะทำให้เราได้จดจำงานที่ผ่านกระบวนการคิด จากนักออกแบบมาแล้ว
มันจะช่วยเราได้ดีในการแก้ปัญหา โดยหยิบยืมเอารูปแบบหรือแนวคิดที่สัมผัสได้
มาเป็นกรณีตัวอย่าง ในการทดลองออกแบบ
หลังจากคุยเรื่องนี้กับฉัตรณรงค์ จริงศุภธาดา เพื่อนที่ไปเดินด้วยกัน
ก็เกิดสงสัยว่าแล้วการที่เรามาเดินดูงานพวกนี้
มันต่างจากการที่เราดูงานในหนังสือยังไง?
เมื่อมาคิดและคุยกันแล้วก็ได้ความคิดเห็นว่า
อย่างแรกที่ต่างจากการดูหนังสือคือ เรื่องของสัมผัสของวัสดุที่ใช้จริง
และมิติที่ต่างกันของวัสดุแต่ละประเภท
การเลือกใช้วัสดุ (materials) ในงานออกแบบ จำเป็นที่จะต้องเลือก
ให้เข้ากับลักษณะงาน เพื่อให้ได้้งานที่ดี เพราะฉะนั้นการที่เราได้สัมผัส
materials พวกนี้จากงานคนอื่น น่าจะได้ประโยชน์จากจดจำและนำไปใช้
เมื่อเรารู้ลักษณะของวัสดุจริงแล้วย่อมช่วยให้เราออกแบบได้ง่ายขึ้น
อย่างที่สอง คือเรื่องของ "ขนาด" งานกราฟิก หรือพวกงานสิ่งพิมพ์
ใหญ่ มันจะส่งผลต่อการออกแบบแน่นอน ยิ่งงานมีขนาดใหญ่
นักออกแบบย่อมมีพื้นที่ให้เล่นมากขึ้น แต่หมายความว่าเราจะคุมยากขึ้นด้วย
การได้ดูงานพวกนี้น่าจะช่วยเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาในภายหลังได้
นอกจากนี้น่าจะมีเรื่องสีที่ใช้มื่อถูกแสงของตัวห้างมีผลต่อการออกแบบ
และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของงานที่ถูกติดตั้งและ้วในสถานที่จริง
มันน่าที่จะเป็นตัวอย่างที่ดี ในการแก้ปัญหาในงานออกแบบ
ฉัตรณรงค์ กล่าวว่า มีอาจารท่านหนึ่งเคยบอกว่า การที่เราจะต้องมาเดินดูนู่นดูนี่
สำหรับนักออกแบบแล้ว มันถือเป็นการ "ฝึกสัญชาติญาณในการออกแบบ"
เราต้องฝึกสังเกต เพราะการเดินดูงานพวกนี้มันช่วยเราได้จริงๆในการออกแบบ
ซึ่งเราไม่ใช่ช่างที่เพียงแต่ต้องมีความชำนาญในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
แต่เราจำเป็นต้องความคิดสร้างสรรค์ด้วย ดังนั้น การที่เราจะเดินเที่ยวดูนู่น
ดูนี่จะเป็นการช่วยให้เราได้รับอะไรใหม่ๆอยู่เสมอ ผมว่านั่นคือ
สิ่งที่จะทำให้งานเราดูน่าสนใจ เพียงแค่รู้จักดูสิ่งต่างๆรอบตัว
"ยิ่งดูเยอะยิ่งเก่งเร็ว"
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่ออย่างนั้นนะ
ภาพ : SiamParagon,Central World
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น