วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Postmodern Graphic Design

หลังจากได้ศึกษาและค้นคว้า นับได้ว่ายุคสมัยที่เรียกกันว่า Postmodern
ได้เป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบและวิวัฒนาการที่สำคัญในวงการ Graphic Design
เลยทีเดียว

Post-Modern มีความหมายตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "ยุคหลังสมัยใหม่"
ซึ่งมาจากคำว่า Posteriority (สภาวะภายหลัง) มารวมกับคำว่า Modern (ใหม่) นั่นเอง

Postmodern เป็นยุคสมัยที่มีช่วงเวลาเริ่มต้นอยู่ในปี คริสตศักราช 1960
นั่นคือเป็นยุคที่เริ่มต้นหลัง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งเป็นยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือนักออกแบบกราฟิก
มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยให้สิ่งที่ทำได้ยาก สามารถทำได้ง่ายขึ้น

แต่ในทางวัฒนธรรมและสังคมในสมัย Postmodern แทนที่จะเป็นยุคสมัยที่มีี่พัฒนาการ
มาจากสมัย Modern กลับกลายเป็น ยุคสมัยแห่งการต่อต้านและทำลาย
รูปแบบยุคสมัยก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง ซึ่งทั้งหลายที่กล่าวมาล้วนมีอิทธิพล
ต่อวงการออกแบบกราฟิกเช่นกัน

ในยุคนี้ งานออกแบบมักจะออกไปในรูปแบบของการนำเอาลักษณะเก่าๆ หรือรูปแบบต่างๆ
มาปะติดปะต่อกัน จนเกิดเป็นงานใหมที่ดูแปลกตา่ อย่างเช่น การผสมรูปแบบตัวอักษร
ระหว่าง Serif (ส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวอักษร) และ Sans Serif (ตัวอักษรที่ไม่มีส่วนยื่น)
จนกลายเป็น Semi Serif เป็นต้น

เรียกง่ายๆว่าเป็นรูปแบบที่มีลักษณะครึ่งๆ กลางๆ ทำให้ดูแปลกตาและน่าสนใจไปจากปกติ
ลักษณะงานแบบนี้มีศัพท์เฉพาะในการออกแบบว่า "Pastiche"

ซึ่งงานออกแบบส่วนใหญ่ในยุคนี้มักจะเป็นงานประเภทนี้

นอกจากนี้ยังมีงานออกแบบที่เรียกว่า "Kitsch"
ซึ่งมีความหมายว่า การออกแบบที่เกินพอดี หรือ ไม่มีความพอดี (Over Design)
ซึ่งรูปแบบนี้มีน่าจะมีที่มาจากความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งก่อให้เกิดจินตนาการแบบเกินจริง งานออกแบบในลักษณะนี้
ได้กลายเป็นแรงบัลดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน

นักออกแบบที่นับเป็นแนวหน้าทางความคิดในยุคนี้อย่าง Emigre (เอมิเกร)
ที่ให้ความสำคัญแก่ Typography (การจัดการตัวอักษร) ในยุค 80-90
ได้เริ่มพัฒนาการออกแบบตัวอักษร ที่เรียกว่า "Cutting-edge Typeface" ขึ้น
และนั่นเป็นเหมือนกับสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพของ Typeface Designer
ในสมัยนั้นและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีโดยทั่วไป

Emigre มีส่วนทำให้ ยุค Postmodern เป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฟื่องฟูของ Digital Font
มีตัวอักษรในรูปแบบที่หลากหลายและแปลกตาเพิ่มขึ้นมากมาย
ให้นักออกแบบได้ใช้กัน

Ray-gun ที่ออกแบบโดย David Carson
เป็นนิตยสารที่มีชื่อเสียงมากในวงการออกแบบในยุคนี้
Ray-gun เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของยุคสมัยได้อย่างชัดเจน
การทำลายรูปแบบเดิมๆ อย่างระบบ Grid (ตาราง) หรือที่เรียกว่า Breaking the Grid
ก็ได้มีเกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้ นับว่าเป็นการจงใจที่จะต่อต้านรูปแบบเดิมๆ
ซึ่งมันก็นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น



ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมจะเอามาลงให้อีกนะครับ ตอนนี้กำลังค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่




อ้างอิง
-บทความของอาจาร อนุทิน วงศ์สรรคกร
-หนังสือ "สู่โลกหลังสมัยใหม่" ของ วรนุช จรุงรัตนาพงศ์
-หนังสือ "ประวัติศาสตร์ศิลปะ ยุคฟื้นฟูและยุคใหม่" ของรองศาสตราจาร อัศนีย์ ชูอรุณ
-http://en.wikipedia.org/wiki/Graphic_design

เรียบเรียง โดย พงศธร ตั้งสะสม

1 ความคิดเห็น:

//Chatnarong Jingsuphatada// กล่าวว่า...

ชอบชื่อ blog โครตๆ 4d